เรื่องที่วิจัย : การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย : ชนิกรรดา เพชรชนะ
ปีที่วิจัย : 2559
สถานที่วิจัย : โรงเรียนวัดโพธิ์เสด็จ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 1
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เวลาในการทดลอง 23 ชั่วโมง 3) หาดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 18 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนวัดโพธิ์เสด็จ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชุดวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 50 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ยร้อยละ การทดสอบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม โดยการทดสอบค่าที (t-test) และดัชนีประสิทธิผล (E.I.) และใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์ความพึงพอใจ
ผลการวิจัยพบว่า
1. หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 83.36/84.67 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชุดวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าก่อนใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3. ดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.6251 หมายความว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.51
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมาก