ชื่อเรื่อง รายงานการใช้บทเรียนสำเร็จรูป ชุดเด็กดีตามวิถีประชาธิปไตย
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้ศึกษา ผกาพรรณ จุ้มฝน
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป ชุดเด็กดีตามวิถีประชาธิปไตย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป ชุดเด็กดีตามวิถีประชาธิปไตย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้บทเรียนสำเร็จรูป ชุดเด็กดีตามวิถีประชาธิปไตย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดช้างค้ำ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 10 คน ประกอบด้วยนักเรียนชาย 1 คนและนักเรียนหญิง 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ( Purposive sampling) เนื่องจากเป็นนักเรียนที่ผู้ศึกษาปฏิบัติหน้าที่เป็นครูผู้สอน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
เครื่องมือที่ผู้ศึกษาได้ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย บทเรียนสำเร็จรูป ชุดเด็กดีตามวิถีประชาธิปไตย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 16 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 2 ชุด จำนวนชุดละ 30 ข้อ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 18 แผน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน 1 ชุด จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่า ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. ได้บทเรียนสำเร็จรูป ชุดเด็กดีตามวิถีประชาธิปไตย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.34/83.11
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป ชุดเด็กดีตามวิถีประชาธิปไตย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าก่อนเรียน ร้อยละ 40.00
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้บทเรียนสำเร็จรูป ชุดเด็กดีตามวิถีประชาธิปไตย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในระดับมากที่สุด