ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการนำเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาด้วยภาคี 4 ฝ่าย
ของโรงเรียนบ้านหินลูกช้าง
ผู้ประเมิน : จิรัชญา บัวทอง
ปีประเมิน : 2558
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการนำเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาด้วยภาคี 4 ฝ่าย ของโรงเรียน บ้านหินลูกช้าง ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับ ความต้องการ ความจำเป็น ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ และความชัดเจนของเป้าหมายของโครงการ (2) ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ เกี่ยวกับความพร้อมของสถานศึกษา ความเหมาะสมของงบประมาณ และความเหมาะสมของกิจกรรมของโครงการ (3) ประเมินกระบวนการการดำเนินโครงการ เกี่ยวกับกระบวนการวางแผน การดำเนินการ การนิเทศติดตามและประเมินผลของโครงการ (4) ประเมินผลผลิตของโครงการ เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คุณธรรม 4 ประการ ปริมาณผลผลิตของพืช และสัตว์ที่ผลิตได้ของโครงการและประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการนำเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาด้วยภาคี 4 ฝ่าย ของโรงเรียนบ้านหินลูกช้าง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 64 คน ประกอบด้วย นักเรียน จำนวน 27 คน เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครู จำนวน 3 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 27 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ และแบบบันทึก จำนวน 4 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการประเมิน สรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน โดยภาพรวมพบว่า ตัวชี้วัด ประเด็นการประเมินทุกประเด็น และภาพรวมของโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมด คือ
1. ผลการประเมินบริบท พบว่า การดำเนินการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.29 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดพบว่า ทุกตัวชี้วัดมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์ การประเมิน เรียงลำดับจากมาก (ไปหาน้อย ได้แก่ ความชัดเจนของเป้าหมาย ความจำเป็น ความต้องการ และความเหมาะสมของวัตถุประสงค์
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้า พบว่า การดำเนินการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.48 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือความเหมาะสมของกิจกรรม ลำดับรองลงมาคือ ความพร้อมของสถานศึกษา และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ความเหมาะสมของงบประมาณ
3. ผลการประเมินกระบวนการ พบว่า การดำเนินการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
( = 4.16) เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ทุกตัวชี้วัดอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การวางแผน การดำเนินการ และการนิเทศติดตามและประเมินผล
4. ผลการประเมินผลผลิต พบว่า การดำเนินการได้ผลอยู่ในระดับมาก ( = 4.30) เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งผลการประเมินตัวชี้วัดย่อยสรุปได้ดังนี้
4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 คุณธรรม 4 ประการ พบว่า ได้ผลผลิต ผ่านเกณฑ์การประเมิน คิดเป็นร้อยละ 86.54
4.3 ผลผลิตจากผักสวนครัว พบว่า ได้ผลผลิต ผ่านเกณฑ์การประเมิน คิดเป็นร้อยละ 91.50และ ผลผลิตจากปลาดุก พบว่า ได้ผลผลิต ผ่านเกณฑ์การประเมิน คิดเป็นร้อยละ 99.00
4.4 ความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
( = 4.17) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5 ความพึงพอใจของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าโดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.46) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.6 ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน พบว่าโดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.26) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
จากผลการประเมินโครงการ ที่พบว่า โครงการผ่านเกณฑ์การประเมินในทุกประเด็นและทุกตัวชี้วัด โรงเรียนบ้านหินลูกช้าง ควรดำเนินโครงการนี้ต่อไป และเพื่อให้การดำเนินโครงการที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรนำผลการประเมินบางประเด็นและบางตัวชี้วัดไปปรับปรุงและพัฒนาต่อไป
1. ประเด็นบริบทของโครงการ
จากผลการประเมินที่พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยมีผลการประเมินตัวชี้วัดความเหมาะสมของวัตถุประสงค์มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด จึงควรกำหนดวัตถุประสงค์ที่เป็นรูปธรรมให้มากที่สุด และเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน
2. ประเด็นปัจจัยนำเข้าของโครงการ
จากผลการประเมินพบว่า ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน และผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ในระดับตัวชี้วัดพบว่าตัวชี้วัดความเหมาะสมของงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด จึงควรจัดให้มีการระดมทรัพยากรจากชุมชนให้มากที่สุด ไม่ว่าเป็นทุนแรงงาน ทุนทรัพย์ สิ่งของ ต่าง ๆ หรือความร่วมมือที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น ความรู้ความสามารถของภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น
3. ประเด็นกระบวนการของโครงการ
จากผลการประเมินพบว่า ผลการประเมินกระบวนการ พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ทุกตัวชี้วัดอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การวางแผน การดำเนินการ และการนิเทศติดตามและประเมินผล จึงควรจัดการนิเทศติดตามและประเมินผลอย่างเป็นระบบ ศึกษาหารูปแบบการนิเทศให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมการทำงานขององค์กร
ข้อเสนอแนะในการประเมินหรือวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรประเมินโครงการนี้ในทุกปี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่สอดคล้องกับสภาพกาลเวลา ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เป็นแนวทางแก่โครงการอื่น ๆ ต่อไป
2. ควรประเมินเกี่ยวกับปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อโครงการ เพื่อรองรับ การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรมผลกระทบที่ตามมา
3. ควรศึกษาตัวชี้วัดอื่นๆ ที่มีอิทธิพลกับตัวชี้วัดที่มีอยู่ เพื่อให้โครงการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น