ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนรัษฎา ปีการศึกษา 2559
ผู้รายงาน นางสาววัชรี เลิศสกุลจินดา ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนรัษฎา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2559
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการ ศึกษาโรงเรียนรัษฎา ปีการศึกษา 2559 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ และด้านผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน โดยใช้การประเมินในสามลักษณะ คือ การประเมินโดยใช้ แบบสอบถามที่ผู้รายงานได้สร้างขึ้นใช้การประเมินผลการระดมทรัพยากรทางการศึกษาทั้ง 4 ด้าน และใช้ผลการประเมินคุณภาพสถานศึกษา ตามมาตรฐานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนตามสภาพจริง ในการประเมินครั้งนี้ กลุ่มที่ใช้ในการประเมิน ผู้รายงานได้ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 537 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 64 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 230 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 230 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยมีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.96-0.99 แบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับปริมาณและคุณภาพของการระดมทรัพยากรทางการศึกษา จำนวน 4 ฉบับ และแบบบันทึกคุณภาพสถานศึกษาตามมาตรฐานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนรัษฎา ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( = 3.79, S.D. = .67) และ ( = 3.84, S.D. = .69) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็นตัวชี้วัด พบว่า ทุกประเด็นตัวชี้วัดมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนรัษฎา ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของครู โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 3.70, S.D. = .63) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็นตัวชี้วัด พบว่า ทุกประเด็นตัวชี้วัดมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนรัษฎา ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของคณะกรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู และผู้ปกครองนักเรียน โดยรวมทุกกลุ่มและประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมินมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ทุกกลุ่มที่ประเมินมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( = 3.78, S.D. = .71) ( = 3.74, S.D. = .71) และ ( = 3.66, S.D. = .67) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนรัษฎา ปีการศึกษา 2559 ได้แก่
4.1 ปริมาณและคุณภาพของการระดมทรัพยากรทางการศึกษาทั้ง 4 ด้าน
4.1.1 ทรัพยากรด้านบุคคล โรงเรียนรัษฎาได้รับการสนับสนุนทรัพยากรด้านบุคคล ซึ่งครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ครู ผู้ปกครอง ผู้ทรงคุณวุฒิ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน รวมถึงบุคคลฝ่ายต่างๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมช่วยเหลือและสนับสนุนการจัดการศึกษาของโรงเรียนรัษฎาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการสนับสนุนจำนวน 21 รายการ ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.1.2 ทรัพยากรด้านการเงินโรงเรียนรัษฎา ได้รับการสนับสนุนทรัพยากรด้านการเงินจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อใช้ในการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการสนับสนุน จำนวน 27 รายการคิดเป็นเงิน 1,536,998บาท ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.1.3 ทรัพยากรด้านวัสดุ อุปกรณ์โรงเรียนรัษฎา ได้รับการสนับสนุนทรัพยากร ด้านวัสดุ อุปกรณ์และอาคารสถานที่ จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อใช้ในการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการสนับสนุน จำนวน 11รายการ คิดเป็นมูลค่า 1,777,600 บาท ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.1.4 ทรัพยากรด้านการจัดการโรงเรียนรัษฎา สามารถบริหารจัดการโดยส่งเสริมให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ตามโครงสร้างโรงเรียนนิติบุคคล ครอบคลุมทั้ง 4 งาน ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล และงานบริหารทั่วไป อย่างต่อเนื่อง ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการประเมินการมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรทางการศึกษาทั้ง 4 ด้าน ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2559 โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมินการมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา อยู่ในระดับมาก สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ทุกกลุ่มที่ประเมินการมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา อยู่ในระดับมาก สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการประเมินคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาทั้ง 4 งาน ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล และงานบริหารทั่วไป ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2559โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมินคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาทั้ง 4 งาน อยู่ในระดับมาก สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ทุกกลุ่มที่ประเมินคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาทั้ง 4 งาน อยู่ในระดับมาก สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามมาตรฐานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนรัษฎา ปีการศึกษา2559 พบว่า ทุกมาตรฐานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมากและดี ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5 ผลการประเมินความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการดำเนินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนรัษฎา ปีการศึกษา 2559 โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณา แต่ละกลุ่ม พบว่า ทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ในการประเมินโครงการครั้งนี้ ผู้รายงานขอเสนอแนะเป็น 2 แนวทาง คือ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้ ได้แก่
1. โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์ หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนตามความเหมาะสม
2. การระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับผู้เกี่ยวข้องทุกส่วนทุกฝ่าย ทั้งผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โดยเปิดโอกาสให้บุคคลเหล่านี้เข้ามามีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมประเมิน และร่วมชื่นชม
3. ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู มีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา จึงควรยกย่องเชิดชูเกียรติ ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ชื่อเสียง ผลงานของบุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงาน ที่ให้การช่วยเหลือสนับสนุน ด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม
4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในฐานะผู้บังคับบัญชาต้นสังกัด ควรมีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมการระดมทรัพยากร เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นระบบ มีการกำกับ ติดตาม ประเมินผลสำเร็จที่เกิดกับคุณภาพผู้เรียน และคุณภาพการศึกษาอย่างจริงจัง
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมิน/วิจัยครั้งต่อไป
1. ให้มีการประเมินผลการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ากับการลงทุนทางการศึกษาของรัฐและเกิดความเสมอภาค
2. ให้มีการประเมินความต้องการจำเป็นของทรัพยากรทางการศึกษาเป็นรายด้านเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมกับขนาดของโรงเรียน
3. ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนิน โครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา ตามบริบทของโรงเรียนที่แตกต่างกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาการดำเนินงานตามโครงการต่อไป