ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้ศึกษา นายชัชวาล ธิมา
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนวัดสวนดอก
ปีที่ทำการศึกษา พ.ศ.2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสวนดอก ก่อนและหลังเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนา การเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนวัดสวนดอก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 จำนวน 26 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 18 เล่ม คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 20 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 20 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 รายการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ค่าความยากง่าย (P) ค่าอำนาจจำแนก (R) ค่าความเชื่อมั่นของคูเดอร์- ริชาร์ดสัน 20 (KR-20) ค่าความเชื่อมั่นของครอนบาค (Alpha-Coefficient ) ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 และค่า t-test Dependent Samples
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.62/83.74 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมาก (x̄= 4.46)