การวิจัยครั้งนี้ วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างเครื่องมือประเมินงานเกษตร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 2 เทศบาลเมืองตะพานหิน จังหวัดพิจิตร เพื่อตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือประเมินงานเกษตร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 2 เทศบาลเมืองตะพานหิน จังหวัดพิจิตร และเพื่อวัดและประเมินผลการเรียนรู้งานเกษตร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 2 เทศบาลเมืองตะพานหิน จังหวัดพิจิตรโดยได้ดำเนินการวิจัยในรูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ผลการวิจัยพบว่า
แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนงานเกษตร สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนเทศบาล 2 เทศบาลเมืองตะพานหิน จังหวัดพิจิตร
1.การสร้างเครื่องมือประเมินงานเกษตร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 2 เทศบาลเมืองตะพานหิน จังหวัดพิจิตร เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 3 ฉบับ จำนวน 30 ข้อ เพื่อใช้ประเมินผลด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain
2. การหาคุณภาพของแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนงานเกษตร สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนเทศบาล 2 เทศบาลเมืองตะพานหิน จังหวัดพิจิตร มีดังนี้
1) ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและผลการเรียนรู้ (IOC) มีค่าตั้งแต่ 0.60-1.00
2) ค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.167- 0.778 และค่าอำนาจจำแนก -0.222-0.667 (การทดลองครั้งที่ 1)
3.) ค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.625- 0.797 มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.219 -0.469 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.889 (การทดลองครั้งที่ 2)
แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงานเกษตร สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 2 เทศบาลเมืองตะพานหิน จังหวัดพิจิตร
1.การสร้างแบบประเมินทักษะการปฏิบัติงานเกษตร สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 2 เทศบาลเมืองตะพานหิน จังหวัดพิจิตร เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 3 ระดับ จำนวน 3 ขั้นตอน ได้แก่ขั้นเตรียมการปฏิบัติ ขั้นการปฏิบัติและขั้นผลการปฏิบัติ เป็นแบบวัดทักษะปฏิบัติเรื่องการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด (การปลูกข้าวโพด)
2.การคุณภาพแบบประเมินทักษะการปฏิบัติงานเกษตร สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 2 เทศบาลเมือง
ตะพานหิน จังหวัดพิจิตร
1) ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและผลการเรียนรู้ (IOC) มีค่า 1.00
2) ระดับความเหมาะสมของเกณฑ์การให้คะแนนอยู่ในระดับ มากที่สุด
3) ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.204-0.788 และค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมิน มีค่าเท่ากับ 0.977 (การทดลองครั้งที่ 1)
4) ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.315-0.762 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.864 (การทดลองครั้งที่ 2)
แบบประเมินคุณลักษณะอันพึ่งประสงค์ การปฏิบัติกิจกรรมงานเกษตร (ด้านความมุ่งมั่นในการทำงาน) สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 2 เทศบาลเมืองตะพานหิน จังหวัดพิจิตร
1. การสร้างแบบประเมินคุณลักษณะอันพึ่งประสงค์ การปฏิบัติกิจกรรมงานเกษตร (ด้านความมุ่งมั่นในการทำงาน) สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 2 เทศบาลเมืองตะพานหิน จังหวัดพิจิตร โดยประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านการมุ่งมั่นในการทำงาน เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ
2.การหาคุณภาพของแบบประเมินคุณลักษณะอันพึ่งประสงค์ การปฏิบัติกิจกรรมงานเกษตร (ด้านความมุ่งมั่นในการทำงาน) สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 2 เทศบาลเมืองตะพานหิน จังหวัดพิจิตร
1) ค่าดัชนีความสอดคล้องที่ได้ มีค่าตั้งแต่ 0.80-1.00
2) ระดับความเหมาะสมของเกณฑ์การให้คะแนนอยู่ในระดับ มาก
3) ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.430-0.855 และ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.851 (การทดลองครั้งที่ 1)
4) ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.503-0.843 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.874 (การทดลองครั้งที่ 2)
การประเมินผลการเรียนรู้ งานเกษตร 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 2 เทศบาลเมืองตะพานหิน จังหวัดพิจิตร พบว่า นักเรียนที่มีระดับผลการเรียนดีเยี่ยม จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 38.71 ระดับผลการเรียนดีมาก จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 32.26 ระดับผลการเรียนดี จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 12.90 ระดับผลการเรียนค่อนข้างดี จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 14.52 และระดับผลการเรียนปานกลาง จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.61 โดยรวมนักเรียนมีระดับผลการเรียนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทุกคนและอยู่ในระดับที่ค่อนข้างดีถึงดีเยี่ยม