ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามขั้นตอน
ของโพลยา เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชา
คณิตศาสตร์พื้นฐาน 5 (ค23101) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษา นายปัญญา สมคำพี
สถานที่ทำงาน โรงเรียนกุดสะเทียนวิทยาคาร อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามขั้นตอนของโพลยา เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 5 (ค23101) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามขั้นตอนของโพลยา เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 5 (ค23101) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามขั้นตอนของโพลยา เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 5 (ค23101) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนรู้ด้วย แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามขั้นตอนของโพลยา เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 5 (ค23101) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามขั้นตอนของโพลยา เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 5 (ค23101) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นกลุ่มตัวอย่างกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกุดสะเทียนวิทยาคาร อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 ปี ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งผู้รายงานเป็นครูผู้สอนประจำวิชาและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 18 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ มี 4 ชนิด ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 แผน มีค่าความเหมาะสม เฉลี่ยเท่ากับ 4.89 อยู่ในเกณฑ์ระดับเหมาะสมมากที่สุด 2) แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามขั้นตอนของโพลยา เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 5 (ค23101) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 8 เล่ม มีค่าความเหมาะสม เฉลี่ยเท่ากับ 4.46 อยู่ในเกณฑ์ระดับเหมาะสมมากที่สุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วย แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามขั้นตอนของโพลยา เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 5 (ค23101) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ ซึ่งมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.40-0.73 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.47-0.80 และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามขั้นตอนของโพลยา เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 5 (ค23101) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 15 ข้อ ซึ่งดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหา (IOC) อย่าระหว่าง 0.80-1.00และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Samples)
ผลจากการพัฒนาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามขั้นตอนของโพลยา เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 5 (ค23101) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าประสิทธิภาพ 82.50/81.72 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามขั้นตอนของโพลยา เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 5 (ค23101) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.6746 ซึ่งหมายความว่านักเรียน
มีก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.46
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนากุดสะเทียนวิทยาคาร อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 ที่เรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามขั้นตอนของโพลยา เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 5 (ค23101) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 หมายความว่า หลังจากนักเรียนเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
แล้วมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนากุดสะเทียนวิทยาคาร อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 มีความพึงพอใจ ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅"= 4.52 S.D"."=0.56" ) โดยข้อที่มีระดับความพึงพอใจสูงสุด คือ การเรียนคณิตศาสตร์ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ทำให้นักเรียนสนุกและอยากเรียน ("x" ̅"= 4.67 S.D.=0.51" )
โดยสรุปแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามขั้นตอนของโพลยา เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 5 (ค23101) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่งที่สามารถทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด มีความก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มขึ้น และมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
จึงสมควรส่งเสริมให้ครูใช้แบบฝึกทักษะเป็นสื่อประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต่อไป