ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการ พัฒนาห้องสมุด 3 ดี เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะ
การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์
ปีการศึกษา 2558 2559
ผู้รายงาน : ว่าที่ ร.ต.หญิงรำไพพรรณ พงศาการณ์
ครู โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16
ปีที่รายงาน 2559
รายงานการประเมินโครงการ พัฒนาห้องสมุด 3 ดี เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็น บุคคล แห่งการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2558 2559ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม ประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการดำเนินงาน และประเมินผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ ( Cipp Model ) มาใช้ในการประเมิน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย ประชากรคณะกรรมการดำเนินโครงการห้องสมุด 3 ดี โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2558 2559 จำนวน 13 คน และกลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 2558 จำนวน 341 คน ปีการศึกษา 2559 จำนวน 341 คน กลุ่มตัวอย่างครู ปีการศึกษา 2558 2559 จำนวน 113 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2558 - 2559 จำนวน 13 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2558 จำนวน 341 คน ปีการศึกษา 2559 จำนวน 341 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่าระดับ ( Rating Scale ) มีข้อคำถามปลายเปิด จำนวน 6 ฉบับและแบบบันทึกผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2558-2559 มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง จำนวน 1 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ ทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยมีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.93 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS ( Statistical Package for Social Sciences for Windows Version 16 ) ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม พบว่าผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมโครงการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2558 ตามความคิดเห็นของ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการดำเนินโครงการห้องสมุด 3 ดี โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ปีการศึกษา 2559 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าโครงการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2558 ตาม ความคิดเห็นของคณะกรรมการดำเนินโครงการห้องสมุด 3 ดี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (µ = 3.42,  = 0.63) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.03,  = 0.53)ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่าผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการในการ
ดำเนินโครงการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2558 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับปานกลาง ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ปีการศึกษา 2559 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยภาพรวม ทุกกลุ่มที่ประเมิน อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครูมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.27, S.D = 0.41)มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย
4.1 พบว่าผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตคุณภาพการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ปีการศึกษา 2558 ตามความคิดเห็นของ นักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับปานกลาง ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ปีการศึกษา 2559 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 พบว่าผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิต เกี่ยวกับพฤติกรรม การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ปีการศึกษา 2558 ตามความคิดเห็นของ ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับปานกลางได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ปีการศึกษา 2559 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 พบว่าผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2558 มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องโดยรวมมีคุณภาพ มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม (ร้อยละ 92.35 ) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2559 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยภาพรวม ผลการประเมินมีระดับคุณภาพดีเยี่ยม (ร้อยละ 96.36 ) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลผลิตด้านความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2558 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน อยู่ในระดับ ปานกลาง ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2559 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการประเมินไปใช้
1. ควรให้มีการประชาสัมพันธ์โครงการให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทราบอย่างต่อเนื่อง
2. ส่งเสริมให้ทุกพื้นที่ของโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้แบบยั่งยืน
3. ของบประมาณในการสนับสนุนโครงการจากหน่วยงานภายนอก
4. ควรจัดซื้อจัดหาทรัพยากรสารสนเทศให้เพียงพอ
5. การติดตามประเมินผล และควรนำผลการประเมินไปใช้จริงในการปรับปรุงพัฒนาโครงการ
6. ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการทุกฝ่ายมีส่วนในการประเมินกิจกรรมเพื่อการพัฒนา
โครงการ
7. ควรส่งเสริมให้ขวัญกำลังใจในการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
8. ควรส่งเสริมให้ผู้ปกครองและหน่วยงานภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆ
9. คณะกรรมการฝ่ายบริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องสนับสนุนงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอ
ใน การดำเนินโครงการ
10. ควรส่งเสริมการค้นคว้าด้วยตัวเองจากสื่อเทคโนโลยีต่างๆเพื่อส่งเสริมการเป็นบุคคลแห่ง
การเรียนรู้
ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัย / ประเมินครั้งต่อไป
1. ควรมีการประเมินโครงการต่างๆ ที่ห้องสมุดได้ดำเนินการทุกโครงการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบ การประเมินอื่นๆ ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
2. ควรวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
ของนักเรียนโดยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม
3. ควรมีการประเมินโครงการในระดับองค์รวมของโรงเรียน โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการ ประเมินของซิปป์ (CIPP Model)