ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิก ประกอบการเรียนรู้วิชาภาษาไทย หน่วยการเรียนรู้ ขัตติยพันธกรณี ของนักเรียนชั้น

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยสื่ออินโฟกราฟิกประกอบความรู้ หน่วยการเรียนรู้ขัตติยพันธกรณี 2.ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีต่อสื่ออินโฟกราฟิกประกอบความรู้ หน่วยการเรียนรู้ขัตติยพันธกรณี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก ที่เรียนวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยนเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยด้วยการทดสอบค่า ที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า 1.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยพื้นฐาน หน่วยการเรียนรู้ขัตติยพันธกรณี หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2.นักเรียนมีความพอใจต่อสื่ออินโฟกราฟิกประกอบความรู้ หน่วยการเรียนรู้ขัตติยพันธกรณี ในระดับมาก (x̄ = 4.31, S.D.=0.57)

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนใจชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุรการงานและดำเนินชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย อย่างสงบสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จากแหล่งเรียนรู้ ข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความรู้ การบวนการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อแสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในด้านวัฒนธรรม ประเพณี ชีวทัศน์ โลกทัศน์ สุนทรียภาพโดยบันทึกไว้เป็นวรรณคดี วรรณกรรมอันล้ำค่า ควรค่าแก่การเรียนรู้ อนุรักษ์ และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป (สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา,กระทรวงศึกษาธิการ 2552 : หน้า 1)

สภาพสังคมในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ตลอดจนความก้าวหน้าทางวิทยาการต่าง ๆ ส่งผลให้การศึกษาไม่สามารถตอบสนอง กับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาเป็นวงกว้าง (ราตรี พิชัยพงศ์ 2552: หน้า 1) สอดคล้องกับรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก ปีการศึกษา 2558 วิชาภาษาไทย ที่มีคะแนนเฉลี่ยยังไม่ถึงร้อยละ 50

นอกจากการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในบทเรียนแล้ว การนำสื่อต่าง ๆ มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในปัจจุบันที่สื่อต่าง ๆ มีความหลากหลาย ทำให้ครูผู้สอนสามารถเลือกใช้สื่อการสอนได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังที่ กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์ (2554 : หน้า 216) กล่าวว่า “การจัดระบบการใช้สื่อการสอนของโรงเรียนนั้น ครูผู้สอนต้องมีบทบาทในการจัดประสบการณ์การสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน และช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความต้องการ จะเห็นได้ว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับสื่อการเรียนการสอน และนวัตกรรมทางการศึกษา เนื่องจากสื่อการเรียนการสอนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในวงการศึกษาของนานาประเทศ” สำหรับสื่อการสอนนั้นสามารถจำแนกได้หลายลักษณะ แต่หากจำแนกตามหลักทรัพยากรการเรียนรู้นั้น ก็สามารถจำแนกได้ 6 ประเภท คือ 1.คน (People) 2.วัสดุ (Materials) 3.อาคารสถานที่ (Settings) 4.อุปกรณ์และเครื่องมือ (Equipment and Tools) 5.กิจกรรม (Activities) และ6.ธรรมชาติ (Natural Resources) (สถาพร,ม.ป.ป.:15) ซึ่งทั้งหมดล้วนมีบทบาทในการจัดการเรียนรู้ทั้งสิ้น แต่หากพิจารณาถึงสื่อประเภทวัสดุอุปกรณ์ ที่นำมาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนแล้ว สื่อสิ่งพิมพ์ประเภท ตำรา (Textbook) เป็นสื่อที่เราคุ้นเคย และนึกถึงเป็นลำดับต้น ๆ เนื่องจากเป็นสื่อที่มีบทบาทและความสำคัญเป็นรูปธรรม และชัดเจน เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่นำมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงปริญญาเอก และค่อนข้างมีความหลากหลาย ทั้งที่บรรจุเนื้อหาวิชาการและเพื่อการบันเทิง ขึ้นอยู่กับผู้สอนจะเลือกใช้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน

ปัจจุบันการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์มีรูปแบบ การนำเสนอสารหรือข้อมูลที่หลากหลาย น่าสนใจมากยิ่งขึ้น เนื่องจากความต้องการนำสารส่งถึงผู้รับข่าวสาร ข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพมาดที่สุด ในการสำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ดีที่สุด คงหนีไม่พ้น อินโฟกราฟิก (Info graphics) หากแปลตรงตัวก็คือ ภาพหรือกราฟิก ซึ่งบ่งชี้ถึงข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น สถิติ ความรู้ ตัวเลข ฯลฯ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ เรียกได้ว่า “เป็นตัวแทนของข้อมูลสื่อมาเป็นภาพ” เป็นการย่นย่อข้อมูลเพื่อให้ประมวลผลได้ง่าย เพียงแค่กวาดตามอง ซึ่งเหมาะสำหรับคนในยุค ไอที ที่ต้องเข้าถึงข้อมูลที่มีความซับซ้อนและมากมายในเวลาอันรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้ อินโฟกราฟิก จึงเป็นเหมือนพระเอกขี่ม้าขาว มาจัดการกับข้อมูลข่าวสาร ตัวอักษรและตัวเลข ที่เรียงรายกันเหมือนยาขม ให้กลายเป็นภพที่สวยงาม Wang Kai (2013:28)

สื่ออินโฟกราฟิก จึงเป็นสื่อทางเลือกที่ครูสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่นักเรียน ทั้งนี้ สื่ออินโฟกราฟิก มีจุดเด่นที่สีสันที่สวยงาม ดึงดูดความสนใจ ง่ายต่อการอ่าน และมีการนำเสนอโดยใช้ภาพเป็นหลัก ดังที่ (ROSS, 2011) ได้กล่าวไว้ว่า “อินโฟกราฟิก (Info graphics) หรืออินฟอร์เมชันกราฟิก (Information graphics) เป็นการแสดงผลของข้อมูล ความรู้ ที่มีความซับซ้อนให้อ่านง่ายขึ้น ทำให้ผู้อ่านมีความเข้าใจในเนื้อหาของเรื่องที่อ่านได้ง่าย และรวดเร็ว โดยใช้การสื่อสารด้วยข้อมูล รูปภาพ และสีสันต่างๆ ปัจจุบัน อินโฟกราฟิกได้ถูกนำไปใช้ในงานหลายด้าน เช่น ป้าย แผนที่ งานวิจัย วิทยาการคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ และสถิติศาสตร์

ปัจจุบันมีนักการศึกษาได้นำอินโฟกราฟิกมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมากมาย เช่น ปิยาภรณ์ เตชะเรืองรอง (2558) ที่กล่าวว่า อินโฟกราฟิกนั้นสามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเป็นอย่างดี เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบการเรียนการสอนด้วยสื่ออินโฟกราฟิก กับการสอนแบบปกติ นอกจากนี้ สื่ออินโฟกราฟิกยังสามารถจูงใจในการเรียนทำให้ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนมากขึ้น และด้วยความสำคัญที่กล่าวมาจึงทำให้ผู้วิจัยสนใจจะให้สื่อ อินโฟกราฟิก ในการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาคุณภาพการสอนของครูควบคู่กันไป โดยหวังว่าสื่ออินโฟกราฟิก จะสามารถพัฒนานักเรียนและพัฒนาการเรียนการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมายของการวิจัยในที่สุด

วัตถุประสงค์การวิจัย

1.เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนของนักเรียน

2.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน

สมมติฐานการวิจัย

1.นักเรียนที่เรียนโดยใช้สื่ออินโฟกราฟิก ประกอบการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ ขัตติยพันธกรณี มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

2.นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนด้วยสื่ออินโฟกราฟิก ประกอบการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ ขัตติยพันธกรณี

ขอบเขตของการวิจัย

การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิก ประกอบการเรียนรู้วิชาภาษาไทย หน่วยการเรียนรู้ขัตติยพันธกรณี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก มีขอบเขตของการวิจัยดังนี้

1) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1.1) ประชากร

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก ที่เรียนวิชาภาษาไทยพื้นฐาน รหัส ท 33102 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 66 คน ซึ่งจัดการเรียนแบบคละความสามรถ

1.2) กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 ที่เรียนวิชาภาษาไทยพื้นฐาน หน่วยการเรียนรู้ขัตติยพันธกรณี โรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 14 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling)

2) ตัวแปรที่ศึกษา

2.1) ตัวแปรต้น ได้แก่

2.1.1) แผนการเรียนรู้ที่เน้นการคิด วิชาภาษาไทย หน่วยการเรียนรู้ขัตติยพันธกรณี ที่ใช้สื่ออินโฟกราฟิกประกอบความรู้

2.1.2) สื่ออินโฟกราฟิกประกอบความรู้ หน่วยการเรียนรู้ ขัตติยพันธกรณี

2.2) ตัวแปรตาม ได้แก่

2.2.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

2.2.2) ความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนที่มีต่อการเรียนรู้

นิยามศัพท์เฉพาะ

1.แผนการเรียนรู้ หมายถึง แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยพื้นฐาน หน่วยการเรียนรู้ ขัตติยพันธกรณี ที่เน้นทักษะการคิดที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย

1.1.ปุจฉาชวนคิด (ขั้นการตั้งคำถาม)

1.2.พินิจคาดการณ์ (ขั้นตั้งสมมติฐาน)

1.3.ปริยัตสารสนเทศ (ขั้นแสวงหาความรู้และสารสนเทศ)

1.4.สังเขปความรู้ (ขั้นการสรุปความรู้)

1.5.เชิดชูผลงาน (ขั้นการนำเสนอและเผยแพราความรู้และผลงาน)

1.6.วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ (ขั้นการวิจารณ์และประเมินผลชิ้นงาน)

ซึ่งแต่ละขั้นตอนนักเรียนต้องใช้ทักษะการคิด เช่น การคิดตั้งคำถาม คิดแบบเหตุผล คิดคาดการณ์ การคิดวิเคราะห์ การวางแผนการดำเนินงาน และการวิพากษ์วิจารณ์

2.สื่ออินโฟกราฟิกประกอบการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ ขัตติยพันธกรณี หมายถึง สื่ออินโฟกราฟิก ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อสรุปเนื้อหาบทเรียน ในหน่วยการเรียนรู้ขัตติยพันธกรณี ในเรื่อง

2.1.สรุปบทเรียนเรื่อง การวิเคราะห์ภาษาจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์

2.2.สรุปบทเรียนเรื่อง ความเป็นมาและประวัติผู้แต่ง

2.3.สรุปบทเรียนเรื่อง การเขียนรายงานและการอ้างอิงข้อมูลสารสนเทศ

2.4.สรุปบทเรียนเรื่อง การวิเคราะห์และประเมินค่าวรรณคดีและวรรณกรรม

สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิก ประกอบการเรียนรู้วิชาภาษาไทย หน่วยการเรียนรู้ ขัตติยพันธกรณี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยสื่ออินโฟกราฟิกประกอบความรู้ หน่วยการเรียนรู้ขัตติยพันธกรณี 2.ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีต่อสื่ออินโฟกราฟิกประกอบความรู้ หน่วยการเรียนรู้ขัตติยพันธกรณี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก ที่เรียนวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ที่ได้จากการสุ่มแบบยกชั้น (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1.แผนการเรียนรู้วิชาภาษาไทยพื้นฐาน หน่วยการเรียนรู้ ขัตติยพันธกรณี 2.สื่ออินโฟกราฟิกประกอบการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ ขัตติยพันธกรณี 3.แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4.แบบประเมินความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละ (%) ใช้สถิติ t-test แบบ Dependent

สรุปผล

จากการพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิก ประกอบการเรียนรู้วิชาภาษาไทย หน่วยการเรียนรู้ ขัตติยพันธกรณี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนวลนรดิศิวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก ปรากฏผลการวิจัยดังนี้

1.นักเรียนที่เรียนด้วยสื่ออินโฟกราฟิก ประกอบการเรียนรู้วิชาภาษาไทย หน่วยการเรียนรู้ ขัตติยพันธกรณี มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เรียน (x bar = 8.29, S.D. = 0.86) สูงกว่าก่อนเรียน(x bar = 1.96, S.D. = 0.82) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2.นักเรียนมีความพึงพอใจในต่อสื่ออินโฟกราฟิกประกอบการเรียนรู้วิชาภาษาไทย หน่วยการเรียนรู้ขัตติยพันธกรณี ในระดับมาก (x bar =4.31,S.D.=0.57)

อภิปรายผล

จากการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิก ประกอบการเรียนรู้วิชาภาษาไทย หน่วยการเรียนรู้ขัตติยพันธกรณี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 โรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก” ผู้วิจัยได้อภิปรายผลการวิจัย ตามผลการวิจัยดังนี้

1.นักเรียนที่เรียนด้วยสื่ออินโฟกราฟิก ประกอบการเรียนรู้วิชาภาษาไทย หน่วยการเรียนรู้ขัตติยพันธกรณี มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 นั้น ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่า สื่ออินโฟกราฟิก ประกอบการเรียนรู้วิชาภาษาไทย หน่วยการเรียนรู้ขัตติยพันธกรณืที่พัฒนาขึ้นนั้นมีวิธีการในการสร้างและพัฒนาตามกระบวนการสร้างและพัฒนาสื่ออย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์เนื้อหาสาระการเรียนรู้จากแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิด และออกแบบโครงสร้างของสื่อประกอบการเรียนรู้ ตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ยังผ่านการพิจารณาจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน พิจารณาด้านเนื้อหาในสื่ออินโฟกราฟิก และองค์ประกอบศิลป์ของสื่อ ทำให้มีความสมบูรณ์ในเรื่องของเนื้อหา สาระการเรียนรู้และความน่าสนใจ ดึงดูดความสนใจของนักเรียน สอดคล้องกับ สุดาพร ศรีพรมมา (2557:144) ที่พัฒนาชุดสื่อฝึกอบรมโดยใช้อินโฟกราฟิก เพื่อให้ความรู้ เรื่องลดภาวะโรคอ้วนและปัจจัยเสี่ยงด้วยหลัก 6 อ. ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรสงคราม โดยใช้แนวคิด ADDIE Model ที่มีขั้นตอน 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ (Analysis) 2) การออกแบบ (Design) 3) การพัฒนา (Development) 4)การทดลองใช้ (Implementation) และ 5)การประเมินผล (Evalution) ผลปรากฏว่า คะแนนเฉลี่ยจาการทดสอบหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2.นักเรียนมีความพึงพอใจในต่อสื่ออินโฟกราฟิกประกอบการเรียนรู้วิชาภาษาไทย หน่วยการเรียนรู้ขัตติยพันธกรณี ในระดับมาก ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะ สื่ออินโฟกราฟิกประกอบการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ที่สร้างขึ้นผ่านการปรับปรุงคุณภาพของสื่ออย่างเป็นขั้นตอน และผ่านการพิจารณาด้านความเหมาะสม และปรับปรุงตามคำแนะนำ มีการตรวจสอบความถูกต้องและการเรียงลำดับของข้อมูลทำให้นักเรียนสามารถเข้าใจสาระการเรียนรู้ได้อย่างง่ายดาย สอดคล้องกับ ภาณุพงศ์ จันทร์ผลิน (2557:59) ที่พัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบอินโฟกราฟิก สำหรับนักเรียนฝึกอาชีพ โรงเรียนพระดาบส หลังการวิจัยพบว่าความพึงพอใจที่มีต่อสื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบอินโฟกราฟิก อยู่ในระดับมากที่สุด เพราะว่า การนำเสนอข้อมูลด้วยภาพ ผ่านการสำรวจค้นคว้าอย่างลึกซึ้ง เป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้และสนับสนุนโครงร่างการออกแบบทั้งหมด มีการคัดข้อมูลอย่างเป็นขั้นตอน โดยต้องเตรียมข้อมูลให้เป็นมาตรฐาน และเน้นการปรับปรุงคุณภาพข้อมูล มีการตรวจสอบ การเรียงลำดับ ทำให้ตอบโจทย์ความต้องการในการรับข้อมูลข่าวสารต่างๆได้อย่างรวดเร็วกว่าการอ่านเนื้อหาที่มีความยาว

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

1.ควรมีการใช้อินโฟกราฟิกสรุปความรู้ในรายวิชาอื่น ๆ เพื่อยกระดับผลการเรียนให้นักเรียน

2.ควรใช้สื่อชนิดอื่น ควบคู่กับการใช้สื่ออินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน

บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ.สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา,(2552) . ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย .กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย จำกัด.

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์,(2554). นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา Innovation and Technical Education Technology. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

กลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติรัชมังคลาภิเษก,(2552).หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิถีปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติรัชมังคลาภิเษก พุทธศักราช 2552 ฉบับที่ 1 สาระสำคัญหลักสูตร. นนทบุรี. บริษัท พี.พี.เอส. กิจเจริญ จำกัด.

กลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติรัชมังคลาภิเษก,(2552).หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิถีปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติรัชมังคลาภิเษก พุทธศักราช 2552 ฉบับที่ 2โครงสร้างและคำอธิบายรายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้. นนทบุรี. บริษัท พี.พี.เอส. กิจเจริญ จำกัด.

กิดานัน มลิทอง,(2535). เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโสตทัศนศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิดานันท์ มลิทอง, เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543

ชัยยงค์ พรหมวงศ์,(2528). ชุดการสอนระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยยศ เรืองสุวรรณ,(2533). เทคโนโลยีการศึกษา:ทฤษฎีและการวิจัย. กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์,(2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: บริษัท แดแน็กซ์ อินเตอร์คอเปอเรชั่น.

ณรงค์ สมพงษ์,(2535). สื่อเพื่องานส่งเสริมและเผยแพร่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เครืออนันต์.

ปิยาภรณ์ เตชะเรืองรอง, (2558). “การจัดกิจกรรมพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไย โดยใช้เทคโนโลยีการศึกษาและระบบการสอนแบบ 4 MAT สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3” วิทยานิพนธ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์,(2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พัชรี เมืองมุกสิก,(2557). “การพัฒนาสื่อการสอนด้วยภาพอินโฟกราฟิกส์ผ่านระบบเครือข่ายวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต” วิทยานิพนธ์ หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ภาณุพงศ์ จันทร์ผลิน,(2557). “การพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบอินโฟกราฟิก สำหรับนักเรียนฝีกอาชีพ โรงเรียนพระดาบส” วิทยานิพนธ์ เทคโนโลยีเทคนิคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ราตรี พิชัยพงค์ ,(2552). “การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการจำหลักวิชาภาษาไทย โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบบการ์ตูนเรื่องชนิดภาพเคลื่อนไหว ที่มีรูปแบบการสรุปเนื้อหา 2 รูปแบบ” วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการสื่อสารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

วีณา วโรตมะวิชญ์,(2545). การออกแบบการสอนอย่างมีระบบ. เชียงใหม่: ภาควิชาประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุจริต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์,(2523). แง่คิดจากวรรณคดีและวรรณกรรม. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิชย์.

สุจริต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์. วิธีสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิชย์, 2538.

สุชาติ ศิริไพบูลย์,(2526). การสอนทักษะภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล ครุศาสตร์ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สุดาพร ศรีพรมา,(2557). “การพัฒนาชุดสื่อฝึกอบรมโดยใช้อินโฟกราฟิกเพื่อให้ความรู้ เรื่อง ลดภาวะโรคอ้วนและปัจจัยเสี่ยงด้วยหลัก 6อ. ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร” วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

สถาพร ไมตรีจิตร์, (ม.ป.ป.). สื่อการเรียนการสอนนวัตกรรมการศึกษาสู่...มาตรฐานอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

ฮัสหน๊ะ บือราเห็ง,(2549). “ผลของการสรุปบทเรียนโดยใช้ผังกราฟิกที่มีต่อความคิดเชิงสาเหตุและผล และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2” วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Hong Kong : Design Media Publishing Limited.

โพสต์โดย อดิศร : [19 พ.ค. 2560 เวลา 13:21 น.]
อ่าน [4482] ไอพี : 202.29.178.237
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 21,080 ครั้ง
 ฮวงจุ้ยในห้องนอน
ฮวงจุ้ยในห้องนอน

เปิดอ่าน 17,653 ครั้ง
รู้จักเพื่อนบ้านอาเซียน
รู้จักเพื่อนบ้านอาเซียน

เปิดอ่าน 21,788 ครั้ง
ยุบ สพฐ. จัดตั้งของใหม่ คิดกันดีแล้วเหรอ?? ไม่เหนื่อยต่อการพายเรือในอ่างหรือ?!
ยุบ สพฐ. จัดตั้งของใหม่ คิดกันดีแล้วเหรอ?? ไม่เหนื่อยต่อการพายเรือในอ่างหรือ?!

เปิดอ่าน 15,672 ครั้ง
ไมโครซอฟท์ประกาศ ยุติโปรแกรม Paint แล้ว หลังอยู่คู่วินโดวส์มา 32ปี!
ไมโครซอฟท์ประกาศ ยุติโปรแกรม Paint แล้ว หลังอยู่คู่วินโดวส์มา 32ปี!

เปิดอ่าน 37,683 ครั้ง
ประวัติย่อของคณิตศาสตร์ : อาร์คีมีดีส : Archimedes
ประวัติย่อของคณิตศาสตร์ : อาร์คีมีดีส : Archimedes

เปิดอ่าน 15,960 ครั้ง
มะขามป้อม
มะขามป้อม

เปิดอ่าน 40,730 ครั้ง
พืชที่ใช้แต่งสีอาหาร หรือให้สีย้อม
พืชที่ใช้แต่งสีอาหาร หรือให้สีย้อม

เปิดอ่าน 9,424 ครั้ง
ชาแบบไหน เหมาะกับคุณ
ชาแบบไหน เหมาะกับคุณ

เปิดอ่าน 97,635 ครั้ง
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

เปิดอ่าน 16,791 ครั้ง
ทายใจจากอักษรท้ายชื่อ
ทายใจจากอักษรท้ายชื่อ

เปิดอ่าน 50,403 ครั้ง
เทคนิคเก่งอังกฤษ
เทคนิคเก่งอังกฤษ

เปิดอ่าน 12,499 ครั้ง
"ผักติ้ว" ผักพื้นบ้านชาวอีสานที่ไม่ควรมองข้าม
"ผักติ้ว" ผักพื้นบ้านชาวอีสานที่ไม่ควรมองข้าม

เปิดอ่าน 14,846 ครั้ง
ศิลปะและสิ่งแวดล้อม
ศิลปะและสิ่งแวดล้อม

เปิดอ่าน 10,189 ครั้ง
แนะนำหนังสือน่าอ่าน
แนะนำหนังสือน่าอ่าน

เปิดอ่าน 23,640 ครั้ง
ประวัติ ความเป็นมาของ "วันเด็กแห่งชาติ"
ประวัติ ความเป็นมาของ "วันเด็กแห่งชาติ"

เปิดอ่าน 15,553 ครั้ง
ชำยอดอ่อนควบแน่น เคล็ดวิชาปราชญ์ชาวบ้าน
ชำยอดอ่อนควบแน่น เคล็ดวิชาปราชญ์ชาวบ้าน
เปิดอ่าน 72,351 ครั้ง
World Wide Web คืออะไร
World Wide Web คืออะไร
เปิดอ่าน 10,666 ครั้ง
กูเกิลบริการแปลภาษาไม่ง้อเน็ต
กูเกิลบริการแปลภาษาไม่ง้อเน็ต
เปิดอ่าน 501,466 ครั้ง
จรรยาบรรณในวิชาชีพครู
จรรยาบรรณในวิชาชีพครู
เปิดอ่าน 21,864 ครั้ง
เจ้าระเบียบ พี่สาววัย 5 ขวบ อบรมน้องชายตัวน้อย
เจ้าระเบียบ พี่สาววัย 5 ขวบ อบรมน้องชายตัวน้อย

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ