บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านนาข่า ปีการศึกษา 2558 - 2559 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ประเมินด้านกระบวนการ และประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย คุณภาพของการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านนาข่า ปีการศึกษา 2558 - 2559 พฤติกรรมการสอนของครูโดยส่งเสริมให้นักเรียนใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและในท้องถิ่น พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาข่า ปีการศึกษา 2558 2559 และความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านนาข่า ปีการศึกษา 2558 - 2559 โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 31 คน และปีการศึกษา 2559 จำนวน 31 คน ประชากรครู ปีการศึกษา 2558 และปีการศึกษา 2559 จำนวน 6 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2558 จำนวน 31 คน และปีการศึกษา 2559 จำนวน 31 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2558 และปีการศึกษา 2559 จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการประเมิน
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านนาข่า ปีการศึกษา 2558 - 2559 ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการ ด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ด้านความเป็นไปได้ของโครงการ และด้านความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมิน ปีการศึกษา 2558 และปีการศึกษา 2559 ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านนาข่า ปีการศึกษา 2558 - 2559 ตามความคิดเห็นของครู โดยประเมิน 4 ด้าน คือ ความพร้อมของบุคลากร ด้านวัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ ด้านงบประมาณ และด้านการบริหารจัดการ โดยภาพรวม พบว่า ปีการศึกษา 2558 และปีการศึกษา 2559 ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านนาข่า ปีการศึกษา 2558 - 2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง โดยประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินการจัดกิจกรรม ด้านการติดตามประเมินผล และด้านการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา โดยภาพรวมทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมิน พบว่า ปีการศึกษา 2558 และปีการศึกษา 2559 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต
4.1 โครงการการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านนาข่า ปีการศึกษา 2558 - 2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวม พบว่า ปีการศึกษา 2558 และปีการศึกษา 2559 ทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.2 พฤติกรรมการสอนของครูโดยส่งเสริมให้นักเรียนใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและในท้องถิ่น โครงการการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านนาข่า ปีการศึกษา 2558 - 2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียน และครู โดยภาพรวม พบว่า ปีการศึกษา 2558 และปีการศึกษา 2559 ทั้ง 2 กลุ่มผู้ประเมินได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.3 ผลการประเมินด้าน พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาข่า ปีการศึกษา 2558 2559 โครงการการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านนาข่า ปีการศึกษา 2558 -2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวม พบว่า ปีการศึกษา 2558 และปีการศึกษา 2559 ทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.4 ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินโครงการการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านนาข่า ปีการศึกษา 2558 - 2559 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวม พบว่า ปีการศึกษา 2558 และปีการศึกษา 2559 ทั้ง 4 กลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. ด้านสภาพแวดล้อม ควรนำผลการประเมินโครงการไปสร้างความตระหนักให้แก่ ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนให้เห็นความสำคัญของโครงการ มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ และพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยการจัดอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน และประชาสัมพันธ์ เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือกับทุกฝ่าย
2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ควรส่งเสริมและเพิ่มงบประมาณในการสร้าง พัฒนา และปรับปรุงให้เพียงพอและเหมาะสม ตามความต้องการของนักเรียนและครูผู้สอน
3. ด้านกระบวนการ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สามารถยืดหยุ่นเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะเพิ่มมากขึ้น จัดกิจกรรมอย่างสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง และมีการติดตามประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำผลไปแก้ไขปรับปรุงในปีการศึกษาต่อ ๆ ไป
4. ด้านผลผลิต ควรส่งเสริมให้นักเรียนรักการเรียนรู้เป็นนิสัยในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจำวัน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินหรือวิจัยในครั้งต่อไป
โรงเรียนควรมีการศึกษาและพัฒนาการปฏิบัติงาน ในรูปแบบโครงงาน และมีการติดตามประเมินผลเชิงระบบที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาในครั้งต่อไป