ชื่อผลงาน : รายงานการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนรู้ทักษะการปฏิบัติเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ (สาระดนตรี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้รายงาน : นายวิโรจน์ โอษฐงาม
สถานศึกษา : โรงเรียนบ้านหัวแรตนาโพธิ์ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1
ปีที่ทำการวิจัย : ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนรู้ทักษะการปฏิบัติเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหัวแรตนาโพธิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนรู้ทักษะการปฏิบัติเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้ทักษะการปฏิบัติเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้ทักษะการปฏิบัติเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหัวแรตนาโพธิ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 18 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการปฏิบัติเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 แผ่น 2) เอกสารประกอบการเรียนการรู้ทักษะการปฏิบัติเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้การปฏิบัติเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดย ใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้ทักษะการปฏิบัติเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ ( t- test dependent sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียนรู้ทักษะการปฏิบัติเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.14 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหัวแรตนาโพธิ์ ที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ทักษะการปฏิบัติเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับที่ .01
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหัวแรตนาโพธิ์ มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ทักษะการปฏิบัติเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการวัดผลและประเมิน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านเนื้อหา และด้านครูผู้สอน ตามลำดับ
สรุปได้ว่า เอกสารประกอบการเรียนรู้ทักษะการปฏิบัติเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผลการเรียนรู้ของนักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น และนักเรียนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้ทักษะการปฏิบัติเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์อยู่ในระดับมาก สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นได้เป็นอย่างดี