การวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ท้องถิ่นพิจิตร (เกษตรอินทรีย์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 เทศบาลเมืองตะพานหิน จังหวัดพิจิตร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเรื่องเกษตรอินทรีย์และความต้องการจัดทำหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อสร้างและศึกษาความเหมะสมของหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตรที่พัฒนาขึ้น โดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนและหลังเรียน โดยหลังเรียนต้องผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 เปรียบเทียบทักษะปฏิบัติงานกับเกณฑ์ที่กำหนดของนักเรียน รวมถึงศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2เทศบาลเมืองตะพานหิน จังหวัดพิจิตร หลังเรียนตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ท้องถิ่นพิจิตร
(เกษตรอินทรีย์ ) โดยได้ดำเนินการวิจัยในรูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development)
ผลการวิจัย พบว่า
ขั้นที่ 1 การวางแผนและศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
การสำรวจข้อมูลพื้นฐานของชุมชนในเรื่องเกษตรอินทรีย์และความต้องการ
การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ท้องถิ่นพิจิตร (เกษตรอินทรีย์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 เทศบาลเมืองตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ดังนี้
1.ผลการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของชุมชนในเรื่องเกษตรอินทรีย์ เพื่อข้อมูลด้านเกษตรอินทรีย์ นำมาสร้างเนื้อหาและเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม ได้ข้อมูลดังต่อไปนี้ ความหมายของเกษตรอินทรีย์ ประโยชน์และความสำคัญของเกษตรอินทรีย์ วิธีการทำการเกษตรอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำสกัดชีวภาพ และการปลูกผักสวนครัวด้วยวิธีการเกษตรอินทรีย์
2. ผลสำรวจความต้องการ การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม ได้ผลการสำรวจ ดังนี้ ความต้องการการจัดทำหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูระดับประถมและคณะกรรมการสถานศึกษา ต้องการให้มีการสอนหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ท้องถิ่นพิจิตร (เกษตรอินทรีย์)
ขั้นที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร
การสร้างและศึกษาความเหมาะสมของหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ท้องถิ่นพิจิตร (เกษตรอินทรีย์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 เทศบาลเมืองตะพานหิน จังหวัดพิจิตรผลการศึกษา สรุปผลได้ดังนี้
1.ผลการพิจารณาความเหมาะสมขององค์ประกอบหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม
พบว่า ในภาพรวมความเหมาะสมขององค์ประกอบหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม อยู่ในระดับมีความเหมาะสม มากที่สุด
2.ผลการพิจารณาความเหมาะสมขององค์ประกอบในเอกสารประกอบหลักสูตร
(คู่มือการใช้หลักสูตร) พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมีความเหมาะสม มากที่สุด
3.ผลการพิจารณาความเหมาะสมขององค์ประกอบในเอกสารประกอบหลักสูตร (แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้) ในภาพรวม อยู่ในระดับมีความเหมาะสม มาก
ขั้นที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตร
การทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ท้องถิ่นพิจิตร (เกษตรอินทรีย์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 เทศบาลเมืองตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการเรียน สรุปดังนี้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์คะแนนหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าเกณฑ์โดยคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 22.05 คิดเป็นร้อยละ 88.20 ผลการเปรียบเทียบทักษะปฏิบัติ (ปฏิบัติการปลูกผักสวนครัวด้วยวิธีการเกษตรอินทรีย์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ สรุปได้ว่า ทักษะปฏิบัติของนักเรียนที่เรียนตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ท้องถิ่นพิจิตร (เกษตรอินทรีย์ ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 18.63 และเมื่อเทียบกับเกณฑ์ คะแนนการประเมินทักษะปฏิบัติของนักเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ขั้นที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร
การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ท้องถิ่นพิจิตร (เกษตรอินทรีย์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 เทศบาลเมืองตะพานหิน จังหวัดพิจิตร พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ท้องถิ่นพิจิตร (เกษตรอินทรีย์) ในภาพรวม มีความพึงพอใจ มาก เมื่อพิจารณาแต่ละหัวข้อ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจ มาก ทุกหัวข้อ ดังนี้ ด้านเนื้อหา ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล