บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการประกันคุณภาพระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ของโรงเรียนบ้านปากเหมือง
ชื่อผู้ประเมิน นายพชร มั่นคง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปากเหมือง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 จังหวัดพัทลุง
ปีที่ประเมิน : 2560
รายงานการประเมินโครงการประกันคุณภาพระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของ โรงเรียนบ้านปากเหมือง โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยของโครงการ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการ โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ ในปีการศึกษา 2559 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ จำนวน 186 คน ประกอบด้วย นักเรียน จำนวน 88 คน ครู จำนวน 9 คน ผู้ปกครอง จำนวน 83 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 คน และผู้บริหาร จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่แบบสอบจำนวน 6 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามด้านสภาพแวดล้อมก่อนการดำเนินงานตามโครงการ 2) แบบสอบถามด้านปัจจัยในการดำเนินการตามโครงการ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นด้านกระบวนการดำเนินงาน 4) แบบสอบถามด้านคุณภาพนักเรียน 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของครูที่ปรึกษา ตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 6) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
( S.D. ) ซึ่งสรุปผลการประเมิน ได้ดังนี้
ผลการประเมินโครงการประกันคุณภาพระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียน บ้านปากเหมือง สรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินประเด็นสภาพแวดล้อมของโครงการ โดยการประเมิน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก และตัวชี้วัดทั้ง 4 ตัวชี้วัดมีดังนี้
1.1 ความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
1.2 ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
1.3 ความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
1.4 ความสอดคล้องกับนโยบายหน่วยงานต้นสังกัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินประเด็นปัจจัยของโครงการโดยการประเมิน จำนวน 5 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก และตัวชี้วัดทั้ง 5 ตัวชี้วัดมีดังนี้
2.1 ด้านผู้บริหาร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 ด้านครู พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
2.3 ด้านด้านผู้ปกครองและชุมชน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
2.4 ด้านนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
2.5 ด้านสถานศึกษา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินประเด็นกระบวนการดำเนินโครงการโดยการประเมิน 3 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก และตัวชี้วัดทั้ง 3 ตัวชี้วัดมีดังนี้
3.1 ด้านการวางระบบการบริหารงาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
3.2 ด้านการดำเนินงาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
3.3 ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล รายงานผลและพัฒนา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินประเด็นผลผลิตของโครงการ โดยการประเมินจำนวน 3 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก และตัวชี้วัด 3 ตัวชี้วัดมีดังนี้
4.1 ด้านคุณภาพนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
4.2 ด้านความคิดเห็นของนักเรียนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของครูที่ปรึกษา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
4.3 ด้านความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
5. ผลการประเมินโครงการ ในภาพรวมของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมาก