บทคัดย่อ
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านแม่คุ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ซึ่งผู้ประเมินได้ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) กำหนดเนื้อหาการประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ 1) การประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) 2) การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น(Input Evaluation) 3) การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) 4) การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 7 คนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 33 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 33 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามจำนวน 3 ฉบับ ฉบับที่ 1) เป็นแบบสอบถามสำหรับครูผู้สอนเกี่ยวกับ ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต ฉบับที่ 2) เป็นแบบสอบถามสำหรับผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับด้านผลผลิต ฉบับที่ 3) เป็นแบบสอบถามสำหรับนักเรียนเกี่ยวกับด้านกระบวนการและด้านผลผลิต ซึ่งลักษณะของเครื่องมือในตอนที่ 1 เป็นแบบสำรวจรายการ (Check List) และตอน ที่ 2 เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ตามแบบของลิเคิร์ท (Likert)
การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ประเมินได้ดำเนินการเก็บข้อมูลกับครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยตนเอง การเก็บรวบรวมข้อมูลกับนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ดำเนินการโดยขอความอนุเคราะห์ จากครูที่ปรึกษาเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ประเมินได้ตรวจสอบความสมบูรณ์และความถูกต้องของแบบสอบถาม ที่ได้คืนจากกลุ่มตัวอย่าง สามารถนำมาวิเคราะห์และ หาค่าทางสถิติ ได้ทั้งหมดจำนวน 80 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 แล้วทำการวิเคราะห์และหาค่าทางสถิติของแบบสอบถาม โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีข้อสรุปดังต่อไปนี้
สรุปผลการประเมินโครงการ
1. สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นนักเรียนจำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 41.30 ผู้ปกครองนักเรียนมีจำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 41.30 ครูผู้สอนจำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 8.8 และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 8.8
2. ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านแม่คุ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ บริหารงานยึดหลักความเป็นประชาธิปไตยและการ มีส่วนร่วม รองลงมา อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การบริหารงานยึดผลประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญและข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ได้แก่ กิจกรรมในแผนการดำเนินงานมีความเหมาะสมชัดเจน สอดคล้องกับความต้องการของผู้เกี่ยวข้องและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้
3. ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านแม่คุ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ผู้บริหารให้ความสำคัญและเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนและผดุงระบบรองลงมา อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ครูที่ปรึกษามีความตระหนักและให้ความสำคัญในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ การเบิก-จ่ายงบประมาณ เป็นไปตามขั้นตอนของโครงการมีความสะดวกรวดเร็ว และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ได้แก่ คู่มือ อุปกรณ์ เครื่องมือ สื่อต่างๆ สำหรับครู ที่ปรึกษาใช้ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเพียงพอ
4. ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านแม่คุ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การจัดประชุมผู้ปกครองนักเรียนรองลงมา อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การดูแลช่วยเหลือนักเรียนและให้คำแนะนำเบื้องต้นแก่นักเรียนและข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ได้แก่ การส่งต่อนักเรียนไปยังผู้เชี่ยวชาญภายนอก
4.1 ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านแม่คุ ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง รองลงมา อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การดูแลช่วยเหลือนักเรียนและให้คำแนะนำเบื้องต้นแก่นักเรียน และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ได้แก่ การจัดหลักเกณฑ์ ระเบียบ ข้อปฏิบัติในระบบการประเมินนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้านความปลอดภัยและการคุ้มครอง
4.2 ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านแม่คุ ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ตามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุดได้แก่ การจัดประชุมผู้ปกครองนักเรียน รองลงมา อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาและเผยแพร่ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ได้แก่ การกำหนดนโยบายและจัดทำแผนกลยุทธ์ในการป้องกันแก้ไขปัญหาและส่งเสริมศักยภาพนักเรียนโดยรอบด้าน
5. ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านแม่คุ สังกัดสำนัก งานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ นักเรียนไม่แสวงหาผลประโยชน์จากสิ่งเสพติดรองลงมา อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ นักเรียนไม่เสพสิ่งเสพติดและสิ่งมอมเมา และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ได้แก่ นักเรียนรู้จักภัยอันตรายต่างๆ ที่มีในสังคม
5.1 ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านแม่คุ ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ นักเรียนไม่แสวงหาผลประโยชน์จากสิ่งเสพติด รองลงมา อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ นักเรียนไม่เสพสิ่งเสพติดและสิ่งมอมเมา และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ได้แก่ นักเรียนรู้จักภัยอันตรายต่างๆ ที่มีในสังคม
5.2 ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านแม่คุ ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ตามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 พบว่าโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุดได้แก่ นักเรียนไม่เสพสิ่งเสพติดและสิ่งมอมเมา รองลงมา อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ นักเรียน ไม่แสวงหาผลประโยชน์จากสิ่งเสพติด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ได้แก่ นักเรียน มีความฉลาดทางอารมณ์
5.3 ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านแม่คุ ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 พบว่าโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุดได้แก่ นักเรียนไม่เสพสิ่งเสพติดและสิ่งมอมเมา รองลงมา อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ นักเรียน ไม่แสวงหาผลประโยชน์จากสิ่งเสพติด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ได้แก่ นักเรียนรู้จักภัยอันตรายต่างๆที่มีในสังคม
5.4 ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านแม่คุ ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุดได้แก่ นักเรียนไม่แสวงหาผลประโยชน์จากสิ่งเสพติด รองลงมา อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ นักเรียนไม่เสพสิ่งเสพติดและสิ่งมอมเมา และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ได้แก่ นักเรียนสามารถหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองให้พ้นภัยอันตรายได้