บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการทักษะการเขียนเรียงความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกุดเสลาวิทยาคม ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการทักษะการเขียนเรียงความ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียน ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการทักษะการเขียนเรียงความ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการทักษะการเขียนเรียงความ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนกุดเสลาวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวนนักเรียน 38 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบสุ่มกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ได้ 1 ห้องเรียน จำนวน 38 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การเขียนเรียงความ จำนวน 16 แผน ใช้เวลา 17 ชั่วโมง ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการทักษะการเขียนเรียงความ จำนวน 5 เล่ม แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการเขียนเรียงความ และแบบประเมินผลงานการเขียนเรียงความ และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ดัวยด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการทักษะการเขียนเรียงความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเปรียบเทียบ t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการทักษะการเขียนเรียงความ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.10/83.84 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการเขียนเรียงความ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการทักษะการเขียนเรียงความ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.71 โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้ง 4 ด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ด้านทัศนคติต่อวิชาภาษาไทย และด้านเนื้อหา