ชื่อผลงานทางวิชาการ การประเมินโครงการอาหารเช้าและอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนโรงเรียน
สุเหร่าหะยีมินา สำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2559
ชื่อผู้เสนอผลงาน นายอนุชิต อินทรพรม
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการอาหารเช้าและอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน โรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา สำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2559 ใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของเดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Daniel L.Stufflebeam) โดยประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ 1) การประเมินด้านบริบท(Context Evaluation) ๒)การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า(Input Evaluation) ๓) การประเมินด้านกระบวนการ(Process Evaluation) และ ๔)การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation)
กลุ่มเป้าหมายในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ผู้บริหารและครูจำนวน 35 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 562 คน และ ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 1 ถึง ประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 762 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบบันทึกข้อมูลสุขภาพ แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลในการประเมินใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปวิเคราะห์ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าความถี่
ผลการประเมินโครงการอาหารเช้าและอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนโรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา สำนักงานเขตหนองจอก ปีการศึกษา 2559 พบว่าโดยภาพรวมมีระดับความสำเร็จอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านกระบวนการ (Process) มีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านปัจจัยนำเข้า (Input) มีผลสำเร็จในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีผลการประเมินดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการอาหารเช้าและอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนสุเหร่าหะยีมินา สำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2559 ด้านบริบท(Context) โดยรวมมีระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่โครงการมีแนวทางดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบาย และแผนงานของกรุงเทพมหานคร มีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ โครงการมีแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับแผนงานของสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร มีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์การตัดสินความสำเร็จของโครงการที่ผู้ประเมินกำหนด
2. ผลการประเมินโครงการอาหารเช้าและอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนสุเหร่าหะยีมินา สำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2559 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โดยรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ปัจจัยนำเข้าด้านงบประมาณ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก รองลงได้แก่ ปัจจัยนำเข้า ด้านวัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โดยรวมสูงกว่าเกณฑ์การตัดสินความสำเร็จของโครงการที่ผู้ประเมินกำหนด
3. ผลการประเมินโครงการอาหารเช้าและอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนโรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา สำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2559 ด้านกระบวนการ (Process) โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดได้แก่ ขั้นตรวจสอบ (C : Check) มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ขั้นปรับปรุงพัฒนา (Action) มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) โดยรวมสูงกว่าเกณฑ์การตัดสินความสำเร็จของโครงการที่ผู้ประเมินกำหนด
4. ผลการประเมินโครงการอาหารเช้าและอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนโรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา สำนักงานเขตหนองจอก กรุงเพทมหานคร ปีการศึกษา ๒๕๕๙ ด้านผลผลิต (Product) โดยรวมมีผลสำเร็จอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อเรียงจากมากไปหาน้อยพบว่า ข้อที่มีผลการประเมินเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนจัดอาหารเช้าและอาหารกลางวันให้กับนักเรียนรับประทานมีคุณค่าสารอาหารครบ 5 หมู่ สะอาด ปลอดภัย มีความสำเร็จอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ปริมาณอาหาร มีความเพียงพอกับจำนวนนักเรียน มีความสำเร็จอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินโครงการด้านผลผลิต (Product) โดยรวมสูงกว่าเกณฑ์การตัดสินความสำเร็จของโครงการที่ผู้ประเมินกำหนด
ผลการประเมินด้านผลผลิต จากการสังเกตสุขนิสัยและพฤติกรรมในการรับประทานอาหารของนักเรียน ในภาพรวมผ่านเกณฑ์ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ารายการที่มีค่าร้อยละสูงสุด ได้แก่ การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ของนักเรียน ผ่านเกณฑ์ในระดับดีมาก รองลงมา ได้แก่ วินัยและมารยาทในการรับประทานอาหาร ผ่านเกณฑ์ในระดับดีมาก ผลการประเมินด้านผลผลิต จากการสังเกตสุขนิสัยและพฤติกรรมในการรับประทานอาหารของนักเรียน มีค่าร้อยละเฉลี่ย 86.07 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์การตัดสินความสำเร็จของโครงการที่ผู้ประเมินกำหนดเกณฑ์ร้อยละ 75 ขึ้นไป ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน
ผลการประเมินด้านผลผลิต จากการสังเกตสุขนิสัย และพฤติกรรมในการรับประทานอาหารของนักเรียน ในภาพรวมผ่านเกณฑ์ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า รายการที่มีค่าร้อยละสูงสุด ได้แก่ การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ของนักเรียน ผ่านเกณฑ์ในระดับดีมาก รองลงมา ได้แก่ วินัยและมารยาทในการรับประทานอาหาร ผ่านเกณฑ์ในระดับดีมาก ผลการประเมินด้านผลผลิต จากการสังเกตสุขนิสัยและพฤติกรรมในการรับประทานอาหารของนักเรียน มีค่าร้อยละเฉลี่ย 86.07 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์การตัดสินความสำเร็จของโครงการที่ผู้ประเมินกำหนดเกณฑ์ร้อยละ 75 ขึ้นไป ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน