บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อพัฒนาชุดฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่องการอ่านและเขียนสระเสียงยาว กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑โรงเรียนบ้านตะมะยูงให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๒)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่องการอ่านและเขียนสระเสียงยาว กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านตะมะยูง และ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่องการอ่านและเขียนสระเสียงยาว กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑โรงเรียนบ้านตะมะยูง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านตะมะยูง สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต ๑ในภาคเรียนที่ ๒ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ จำนวน ๑๑ คน ที่ผู้รายงานเป็นครูประจำชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ๑)ชุดฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่องการอ่านและเขียนสระเสียงยาวกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๘ เล่ม ๒)แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการอ่านและเขียนสระเสียงยาวกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๑๘ แผน ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่านและเขียนสระเสียงยาวกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน ๓๐ ข้อ และ ๔)แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่องการอ่านและเขียนสระเสียงยาวจำนวน ๑๐ ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ คือ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่า
๑) ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) มีค่าเท่ากับ ๘๖.๖๘ และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) มีค่าเท่ากับ ๘๔.๕๔ ดังนั้น ประสิทธิภาพของชุดฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่องการอ่านและเขียนสระเสียงยาว กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านตะมะยูง ค่าเท่ากับ๘๖.๖๘/๘๔.๕๔
๒) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่องการอ่านและเขียนสระเสียงยาวกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านตะมะยูง ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๑๔.๕๔ คิดเป็นร้อยละ๔๘.๔๙ ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ๒๕.๓๖ คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๕๔โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเฉลี่ย ๑๐.๘๒ คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๐๗
๓) ระดับความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่องการอ่านและเขียนสระเสียงยาว กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านตะมะยูง เฉลี่ยโดยส่วนรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๘ คิดเป็นร้อยละ ๘๙.๕๖
ข้อเสนอแนะ
๑) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ควรนำชุดฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่องการอ่านและเขียนสระเสียงยาวกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ไปประยุกต์ใช้สำหรับเสริมทักษะภาษาไทยเรื่องการอ่านและเขียนสระเสียงยาว กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพราะจากผลการศึกษายืนยันได้ถึงความสำเร็จในการนำไปใช้แล้ว คือ การมีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๖.๖๘/๘๔.๕๔ สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่านและเขียนสระเสียงยาว กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ให้สูงขึ้นได้ และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
๒) จากการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนพบว่ารายการนักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผลการเรียนมีระดับความพึงพอใจต่ำสุดดังนั้นครูผู้สอนควรพัฒนากิจกรรมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผลการเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมตามที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดการเรียนรู้ได้อย่างยั่งยืนต่อไป