ชื่อรายงาน : รายงานผลการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย เรื่อง สระหรรษา พาเพลิน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านดูลาเปอร์ อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ชื่อผู้รายงาน : นางกรรณิการ์ ประจักษ์พนา
สถานศึกษา : โรงเรียนบ้านดูลาเปอร์ อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา ๒๕๕๙
บทคัดย่อ
รายงานผลการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย เรื่อง สระหรรษา พาเพลิน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านดูลาเปอร์ อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว เรื่อง สระหรรษา พาเพลิน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ หาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว เรื่อง สระหรรษา พาเพลิน รวมทั้งเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว เรื่อง สระหรรษา พาเพลิน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว เรื่อง สระหรรษา พาเพลิน
ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๗ คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ๑) แผนการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว เรื่อง สระหรรษา พาเพลิน จำนวน ๑๘ แผน ๒) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว เรื่อง สระหรรษา พาเพลิน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๘ เล่ม ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดปรนัย ๓ ตัวเลือก จำนวน ๒๐ ข้อ ๔) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว เรื่อง สระหรรษา พาเพลิน จำนวน ๑๐ ข้อ
สถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ โดยการหาค่าประสิทธิภาพของเครื่องมือ (E๑/E๒) ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I) ค่าร้อยละของคะแนน ค่าเฉลี่ย (m) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s)
ผลการศึกษา พบว่า
๑. ได้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว เรื่อง สระหรรษา พาเพลิน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่สร้างและพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๖.๗๘/๘๒.๘๕ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดไว้ คือ ๘๐/๘๐
๒. ผลการหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว เรื่อง สระหรรษา พาเพลิน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านดูลาเปอร์ อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เท่ากับ ๐.๖๔๖ หมายถึง เมื่อนักเรียนได้เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว เรื่อง สระหรรษา พาเพลิน แล้วนักเรียนมีความรู้ก้าวหน้าทางการเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ ๖๔.๖๐
๓. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว เรื่อง สระหรรษา พาเพลิน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ มีคะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน เพิ่มขึ้นร้อยละ ๔๑.๔๖ แสดงให้เห็นว่า ผลหลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว เรื่อง สระหรรษา พาเพลิน สูงกว่าก่อนใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว เรื่อง สระหรรษา พาเพลิน
๔. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว เรื่อง สระหรรษา พาเพลิน โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก