ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่องแรงและ
การเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้ศึกษา อัจฉรา ทิพย์อุทัย
สถานศึกษา โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
ปีที่ศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่องแรงและการเคลื่อนที่
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ 4) ศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่องแรงและการเคลื่อนที่
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/10 โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 ที่กำลังเรียนอยู่ใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 38 คน ซึ่งได้จากการใช้เทคนิคการ สุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 ชุด และแผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 ข้อ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย (x̄) การหาค่าร้อยละ (%) การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (T-Test Dependent Samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.01/85.26 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.7766
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/10 จำนวน 38 คน ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/10 จำนวน 38 คน มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.60
โดยสรุป ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่องแรงและการเคลื่อนที่
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสม ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้อย่างมีความสุขรวมถึงช่วยแก้ปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ได้เป็นอย่างดีบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้