บทคัดย่อ
เรื่อง ผลการใช้ชุดการฝึกตามแนวคิดการเรียนแบบร่วมมือพัฒนาทักษะการอ่าน
คิดวิเคราะห์ และเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้ศึกษาค้นคว้า นางสุทธิรัตน์ เอี่ยมระยับ
ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านเหมืองตะกั่ว
ปีการศึกษา 2559
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดการฝึกตามแนวคิดการเรียนแบบร่วมมือพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังได้รับการเรียนโดยใช้ชุดการฝึกตามแนวคิดการเรียนแบบร่วมมือพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการฝึกตามแนวคิดการเรียนแบบร่วมมือพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านเหมืองตะกั่ว ตำบลหนองธง อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 จำนวน 16 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ 1) ชุดการฝึกตามแนวคิดการเรียนแบบร่วมมือพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 7 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ จำนวน 21 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านคิด วิเคราะห์ จำนวน 2 ฉบับ คือ แบบเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบเขียนวัดด้านการเขียน จำนวน 1 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้ชุดการฝึกตามแนวคิดการเรียนแบบร่วมมือพัฒนาการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () และค่าร้อยละ
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1. ชุดการฝึกตามแนวคิดการเรียนแบบร่วมมือพัฒนาการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.57/80.73 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเหมืองตะกั่ว หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนร้อยละ 39.00 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 2
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดการฝึกตามแนวคิดการเรียนแบบร่วมมือพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย อยู่ในระดับมากที่สุด