บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางชุติมา แสวงผล
ปีที่วิจัย 2559
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สี่ประการคือ (1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่สอนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (3) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียน
ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
(4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนอนุบาลขุนหาญ(สิ) ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 25 คน ได้มาโดยวิธี
การสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยกำหนดกลุ่ม แบบแผนในการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ One Group Pretest-Posttest Design ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง
18 ชั่วโมง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 4 อย่าง คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ
คณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 9 แผน ใช้เวลาสอน 18 ชั่วโมง
ซึ่งไม่รวมชั่วโมงสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (2) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 9 เล่ม (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบทดสอบชนิดปรนัยแบบเลือกตอบ จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.42 ถึง 0.72 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.29 ถึง 0.82 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91
(4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 20 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.36 ถึง 0.75
และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และการทดสอบค่า t แบบกลุ่มสัมพันธ์
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.51/83.47 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนและหลังเรียนแล้ว 14 วัน ในการเรียนโดยใช้
แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้
แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบฝึกทักษะที่มีประสิทธิภาพ จึงควรพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และนำไปใช้ในการพัฒนา
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ในปีการศึกษาต่อไป