บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยเทคนิคการเรียนรู้ร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านอัยเยอร์เวง ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยเทคนิคการเรียนรู้ร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านอัยเยอร์เวง และ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยเทคนิคการเรียนรู้ร่วมมือแบบSTADกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4โรงเรียนบ้านอัยเยอร์เวง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ๔/๓ โรงเรียนบ้านอัยเยอร์เวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลาเขต ๓ ในภาคเรียนที่ ๒ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๒๖ คน ที่ผู้รายงานเป็นครูประจำชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ๑) ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยเทคนิคการเรียนรู้ร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน ๗ เล่ม ๒) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญโดยเทคนิคการเรียนรู้ร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๒๓ แผน ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่านจับใจความสำคัญโดยเทคนิคการเรียนรู้ร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
ก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน ๓๐ ข้อ และ ๔) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ โดยเทคนิคการเรียนรู้ร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๑๒ ข้อ ดำเนินการศึกษาในภาคเรียนที่ ๒
ปีการศึกษา ๒๕๕๙ ระหว่างวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๙ รวมเวลาทั้งสิ้น ๒๓ ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติคือ ค่าเฉลี่ย และ ค่าร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่า
๑) ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) มีค่าเท่ากับ ๘๒.๕๑ และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) มีค่าเท่ากับ ๘๒.๖๙ ดังนั้น ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยเทคนิคการเรียนรู้ร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านอัยเยอร์เวง
มีค่าเท่ากับ ๘๒.๕๑ /๘๒.๖๙
๒) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยเทคนิคการเรียนรู้
ร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านอัยเยอร์เวง ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๕.๙๒ คิดเป็นร้อยละ ๑๙.๗๔ ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๒๔.๘๑ คิดเป็นร้อยละ ๘๒.๖๙ โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเฉลี่ย ๑๘.๘๙ คิดเป็นร้อยละ ๖๒.๙๕
๓) ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยเทคนิคการเรียนรู้ร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านอัยเยอร์เวง เฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๖๖ คิดเป็นร้อยละ ๙๓.๒๒
ข้อเสนอแนะ
๑) ครูผู้สอนหรือผู้ที่มีความรับผิดชอบในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หรือผู้ที่มีความประสงค์จะพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียน สามารถนำชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยเทคนิคการเรียนรู้ร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ไปประยุกต์ใช้สำหรับเสริมทักษะภาษาไทยเรื่องการอ่านจับใจความได้ เพราะจากผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นถึงผลของความสำเร็จในการนำไปใช้คือ การมีประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะฯเท่ากับ ๘๒.๕๑/๘๒.๖๙ สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่านจับใจความสำคัญให้สูงขึ้นได้ ประกอบกับผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่พบว่า นักเรียนมีความ
พึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญฯ มีระดับความพึงพอใจสูงที่สุดคือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๕.๐๐ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ และเมื่อพิจารณาในภาพรวมยังพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้ชุดฝึกทักษะฯโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งเป็นการยืนยันถึงคุณภาพของชุดฝึกทักษะฯที่ผู้รายงานสร้างขึ้นได้เป็นอย่างดี
๒) จากการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนพบว่า เนื้อหา สาระมีความเหมาะสม ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะ กระบวนการ ตรงกับระดับชั้นของผู้เรียน มีระดับความพึงพอใจต่ำสุดซึ่งอาจอธิบายได้ว่า การออกแบบชุดฝึกทักษะฯ เนื้อหาสาระ หรือกระบวนการต่างๆของแบบทดสอบที่กำหนดไว้ใน ชุดฝึกทักษะฯ อาจจะยังมีความไม่เหมาะสมหรืออาจจะมีความบกพร่องบางประการ จึงส่งผลให้นักเรียนไม่พึงพอใจในประเด็นดังกล่าว ดังนั้น ครูผู้สอนหรือผู้ที่ต้องการนำไปใช้ควรให้ความสำคัญ
กับการออกแบบชุดฝึกทักษะฯ เนื้อหาสาระหรือกระบวนการต่างๆของแบบทดสอบที่กำหนดไว้ใน ชุดฝึกทักษะฯให้มีความเหมาะสม สามารถดึงดูดความสนใจของนักเรียนให้ทำงานได้อย่างมีความสุขและเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป