บทคัดย่อ
หัวข้อวิจัย การพัฒนารูปแบบการนิเทศเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดทำหนังสือเสริม
ประสบการณ์พัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
ผู้วิจัย นางกาญจนา จิตรสำรวย
ปีที่ทำการวิจัย ๒๕๕๘
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการนิเทศเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 2) เพื่อศึกษาสมรรถนะในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ๓) เพื่อศึกษาความสุขในการทำงานของครูที่มีต่อรูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4 ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 4) เพื่อศึกษาทักษะการอ่าน การเขียนภาษาไทยโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 5) เพื่อศึกษาความสุขในการเรียนรู้ภายหลังการใช้หนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
ประชากร และกลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ๑) ประชากร คือ ๑.๑) ครู ครูที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูจากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จากโรงเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 90 โรงเรียน ๆ ละ 1 คน เป็นครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4จำนวน 90 คนและใช้ครูเป็นหน่วยวิเคราะห์ (Unit of Analysis) ๑.๒) นักเรียน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งโรงเรียนที่มีครูมาร่วมในการพัฒนาสมรรถนะ ในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทยโดยพิจารณาเห็นว่านักเรียนในชั้นดังกล่าวไม่ต้องเตรียมตัวเข้ารับการทดสอบทางการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน(O NET , NT, LAS) ๒) กลุ่มตัวอย่าง คือ ๒.๑) ครู ครูที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูจากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จากโรงเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 90 โรงเรียน ๆ ละ 1 คน เป็นครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4จำนวน 90 คนและใช้ครูเป็นหน่วยวิเคราะห์ (Unit of Analysis) ๒.๒) นักเรียน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งโรงเรียนที่มีครูมาร่วมในการพัฒนาสมรรถนะ ในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทยโดยพิจารณาเห็นว่านักเรียนในชั้นดังกล่าวไม่ต้องเตรียมตัวเข้ารับการทดสอบทางการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน(O NET , NT, LAS) โดยการจับฉลากโรงเรียนละ ๕ คน จำนวน ๔๕๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ๑) แบบตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการนิเทศ 2) ตัวอย่างหนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนภาษาไทย 3) คู่มือการนิเทศการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์ ๔) แบบทดสอบความรู้ของครู เรื่องการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์ 5) แบบประเมินทักษะของครูในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์ ๖) แบบวัดเจตคติของครูในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์ 7) แบบวัดความสุขในการทำงานของครูผู้รับการนิเทศ 8) แบบประเมินทักษะการอ่าน การเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 9) แบบวัดความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 การวิเคราะห์ข้อมูล 1) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ผู้วิจัยได้นำข้อมูลไปตรวจสอบเบื้องต้น ลงรหัสแล้วนำไปคำนวณหาค่าทางสถิติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ มีสถิติสำหรับการวิเคราะห์ดังนี้ คือการหาค่าความถี่ (frequency) ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) 2) สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความรู้ของครู เรื่องการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์ จากการทำแบบทดสอบระหว่างก่อนรับการนิเทศกับหลังรับการนิเทศ ใช้ค่าแจกแจง t แบบ Dependent Samples (โกวิท ประวาลพฤกษ์. 2538 : 120) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการนิเทศเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 แบบไอกาน IKAN Supervisory Clinic มีกระบวนการนิเทศ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน (Inspiration) 2) การให้ความรู้ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ( Knowledge Sharing) 3) การนิเทศให้คำแนะนำช่วยเหลือ (Advisory sharing) 4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่าย (Network sharing)
ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการนิเทศ ก่อนการนำรูปแบบการนิเทศไปใช้ พบว่า ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการนิเทศเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมผลการประเมินมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.91, S.D. = 0.03) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ปรากฏว่า ทุกข้อมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.80 - 5.00 และผลการประเมินความสอดคล้องของรูปแบบการนิเทศเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.๐๐ ทุกข้อ แสดงว่ารูปแบบการนิเทศสามารถนำไปใช้ในการนิเทศได้ สรุปว่า รูปแบบการนิเทศที่พัฒนามีความเหมาะสม สอดคล้องและมีความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี และมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพ
2. ผลการประเมินสมรรถนะครูในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะการอ่านการเขียนของนักเรียน พบว่า ก่อนและหลังใช้รูปแบบการนิเทศแตกต่างกัน
2.1 สมรรถนะครูในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะการอ่านการเขียน
ด้านความรู้
ผลการประเมินความรู้ด้านการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์ของครูผู้รับการนิเทศ พบว่า ก่อนรับการนิเทศมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 19.46 และหลังรับการนิเทศมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 26.32 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนรับการนิเทศกับคะแนนหลังรับการนิเทศ พบว่า คะแนนความรู้ด้านการจัดการเรียนการสอนหลังรับการนิเทศของครูสูงกว่าก่อนรับการนิเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ด้านทักษะ
ผลการประเมินด้านทักษะการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์ ปรากฏว่า
โดยภาพรวมครูมีทักษะการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์อยู่ในระดับดี (x̄ = 4.46, S.D. = 0.18) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ปรากฏว่ามีทักษะการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์อยู่ในระดับดีถึงดีมาก มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.28 - 4.72 โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ปกหนังสือสวยงามน่าสนใจ มีทักษะการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์อยู่ในระดับดีมาก ( x̄= 4.72, S.D. = 0.45) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ เนื้อหามีความเหมาะสมกับผู้อ่าน มีทักษะการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์อยู่ในระดับดี ( x̄= 4.28, S.D. = 0.60)
ด้านเจตคติ
เจตคติของครูที่มีต่อการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์ ปรากฏว่าโดยภาพรวมครูมีเจตคติต่อการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.51, S.D. = 0.15) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ปรากฏว่าครูมีเจตคติต่อการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.22 - 4.70 โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ หลังใช้หนังสือเสริมประสบการณ์นักเรียนมีพัฒนาการด้านทักษะการอ่านการเขียนมากขึ้น มีเจตคติต่อการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.70, S.D. = 0.55) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การออกแบบการสอนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ ช่วยให้ครูมีเป้าหมายในการพัฒนานักเรียนอย่างชัดเจน มีเจตคติต่อการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์อยู่ในระดับดี (x̄ = 4.22, S.D. = 0.41)
2.2 ผลการศึกษาความสุขในการทำงานของครูผู้รับการนิเทศตามขั้นตอนการนิเทศ ที่มีต่อรูปแบบการนิเทศแบบไอกาน IKAN Supervisory Clinic หลังการใช้รูปแบบการนิเทศ พบว่า ครูผู้รับการนิเทศมีความสุขในการทำงานตามขั้นตอนของการนิเทศแบบไอกาน IKAN Supervisory Clinic โดยรวมมีความสุขในการทำงานอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.50, S.D. = 0.08) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ปรากฏว่าครูมีความสุขในการทำงาน อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.42 - 4.65 โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านรักการเรียนรู้และพัฒนา มีความสุขในการทำงาน อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.65, S.D. = 0.24) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านความรักในงาน มีความสุขในการทำงาน อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.42, S.D. = 0.10)
2.3 ผลการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนของนักเรียน ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านการเขียนของนักเรียน ก่อนและหลังใช้รูปแบบการนิเทศแตกต่างกัน โดยนักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านการเขียน หลังใช้รูปแบบการนิเทศสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการนิเทศ
ด้านทักษะการอ่าน
ผลการทดสอบเพื่อเปรียบเทียบคะแนนของนักเรียนด้านทักษะการอ่าน จากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนกับหลังเรียน ซึ่งพบว่า ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 10.30 และหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 14.22 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนเรียนกับคะแนนหลังเรียน พบว่า คะแนนทักษะด้านการอ่านหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ด้านทักษะการเขียน
ผลการทดสอบเพื่อเปรียบเทียบคะแนนของนักเรียนด้านทักษะการเขียน
จากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนกับหลังเรียน ซึ่งพบว่า ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 10.29 และหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 14.30 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนเรียนกับคะแนนหลังเรียน พบว่า คะแนนทักษะด้านการเขียนหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.4 ผลการศึกษาความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านการเขียนของครูภาษาไทยหลังการใช้รูปแบบการนิเทศแบบไอกาน IKAN Supervisory Clinic พบว่า นักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้ต่อการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านการเขียนของครูภาษาไทย อยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาลำดับที่ของรายการประเมินความสุขต่อการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยตามลำดับค่าเฉลี่ย พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาที่เรียนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 มีความสุขในการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.53, S.D. = 0.18) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่านักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.42-4.59 โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านเกี่ยวกับวิชาเรียน ( x̄= 4.59, S.D. = 0.31) และด้านเกี่ยวกับความสัมพันธภาพกับคนอื่น (x̄ = 4.59, S.D. = 0.18) ซึ่งทั้ง 2 ด้านมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน โดยมีความสุขในการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านเกี่ยวกับบรรยากาศในการเรียน มีความสุขในการเรียนรู้ระดับมาก ( x̄= 4.42, S.D. = 0.18)