ชื่อเรื่อง รายงานการนิเทศแบบคลินิกเพื่อพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ
เทคโนโลยี แบบโครงงานฐานวิจัย (RBP) ที่เน้นทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ โดยใช้
โรงเรียน เป็นฐาน(SBM) โรงเรียนในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษาเขต 30
ผู้วิจัย นางปรียารัตน์ ขาวปั้น
หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30
ปีที่วิจัย พ.ศ. 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนาเอกสารเสริมความรู้สำหรับครูผู้สอนโครงงานฐานวิจัย (RBP : Research Based Project ) ที่เน้นทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 = 75/75 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการนิเทศแบบคลินิก 3)ศึกษาผลการใช้เอกสารเสริมความรู้สำหรับครูผู้สอนโครงงานฐานวิจัย (RBP : Research Based Project ) ที่เน้นทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) ศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (RBP : Research Based Project )
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 จำนวน 10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือ
ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย เครื่องมือ 2 ประเภท ดังนี้ 1)เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองสำหรับการวิจัย ได้แก่ (1.1) เอกสารเสริมความรู้สำหรับครูผู้สอนโครงงานฐานวิจัย (RBP : Research Based
Project ) ที่เน้นทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (1.2) คู่มือการทำโครงงาน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลนิเทศการสอนสำหรับผู้วิจัย ได้แก่ (2.1) แบบประเมินพฤติกรรมการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยี (2.2) แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยี (2.3) แบบประเมินพฤติกรรมการนิเทศแบบคลินิก (2.4) แบบสอบถามการรับการนิเทศ การศึกษา และการนำเอกสารเสริมความรู้ไปใช้ (2.5) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีต่อการนิเทศแบบคลินิก วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปStatistical Package for the Social Sciences for Windows (SPSS for Windows) ดังนี้ 1) ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการสอนของครูก่อนและหลังการนิเทศแบบคลินิกในการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยใช้สถิติวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าเฉลี่ยร้อยละ 3) วิเคราะห์ความคิดเห็นของครูต่อการนิเทศแบบคลินิกในการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยใช้สถิติวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1 สภาพทั่วไปของกลุ่มเป้าหมาย
จากการศึกษาข้อมูลทั่วไปของกลุ่มเป้าหมาย พบว่า ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 เป็นเพศชายมากที่สุด (ร้อยละ 70.00) อายุตัวอยู่ระหว่าง 41 50 ปี มากที่สุด (ร้อยละ 50.00) รองลงมาคือ อายุ 50 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 30.00) ตามลำดับ อายุราชการอยู่ระหว่าง 31 40 ปี มากที่สุด (ร้อยละ 40.00) รองลงมา คือ 21 30 ปี (ร้อยละ 30.00) ตามลำดับ วุฒิการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาโท มากที่สุด (ร้อยละ 80.00) วิชาเอกการงานอาชีพและเทคโนโลยีมากที่สุด (ร้อยละ 80.00 ) ตามลำดับ ประสบการณ์การสอน ระดับความรู้ การเข้ารับการอบรมของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในศตวรรษที่ 21 พบว่า ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ทำหน้าที่สอนประจำชั้นวิชา มากที่สุด (ร้อยละ 100.00) มีประสบการณ์ในการสอนสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี 11-15 ปี มากที่สุด (ร้อยละ 40.00) รองลงมา คือ 16 20 ปี (ร้อยละ 30.00) ตามลำดับ ไม่เคยเข้ารับการอบรมรับฟังชี้แจงการสอนโครงงานฐานวิจัย มากที่สุด (ร้อยละ 100.00) มีความรู้ความสามารถทางด้านการสอนโครงงานฐานวิจัย จากการประเมินตนเอง ในระดับน้อยที่สุด (ร้อยละ 90.00) รองลงมา คือ ระดับปานกลาง (ร้อยละ 10.00) ตามลำดับ แหล่งความรู้ที่เคยได้รับส่วนมากได้จากจากการรับการนิเทศของศึกษานิเทศก์มากที่สุด (ร้อยละ 80.00) รองลงมา คือ จากการนิเทศของศึกษานิเทศก์ (ร้อยละ 20.00) ตามลำดับ ส่วนวิธีการหรือกิจกรรม และลักษณะการนำเอกสารไปใช้ของครูผู้สอน พบว่า วิธีการหรือกิจกรรมที่ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีส่วนมากนำความรู้ ความเข้าใจ แนวทาง และอื่น ๆ ไปใช้โดยการสอนตามตารางสอนสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีนำไปบูรณาการการสอนกับการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ และโดยการสอนเสริมนอกเวลาเรียน ตามลำดับ ซึ่งลักษณะของวิธีการหรือกิจกรรมที่นำไปใช้ส่วนมากจะมีการจัดทำเพิ่มเติมหรือปรับปรุงให้เหมาะสมก่อนนำไปใช้ และนำไปใช้ตามคำแนะนำทุกรูปแบบ
2. เอกสารเสริมความรู้สำหรับครูผู้สอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพขณะทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง E1 / E2 = 74.34 / 79.93 ผ่านเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1 / E2 = 75/75 ที่ตั้งไว้
3. ครูที่ได้รับการนิเทศแบบคลินิกในการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยี มีพฤติกรรมการสอนที่ดีขึ้น คือ มีระดับคะแนนเฉลี่ยจากพฤติกรรมการสอนหลังได้รับการนิเทศสูงกว่าก่อนได้รับการนิเทศ โดยระดับคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.60
4. ผลการใช้เอกสารเสริมความรู้สำหรับครูผู้สอนโครงงานฐานวิจัย (RBP : Research Based Project ) ที่เน้นทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า
4.1 ความเหมาะสมของเอกสารเสริมความรู้สำหรับครูผู้สอน พบว่า เอกสารเสริมความรู้สำหรับครูผู้สอนโครงงานฐานวิจัย (RBP : Research Based Project ) ที่เน้นทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยรวมทุกเล่มมีความเหมาะสมตามความคิดเห็นของครูผู้อบรม/ชี้แจง ในด้านความถูกต้องชัดเจนของการใช้ภาษาสื่อความหมาย ด้านการจัดรูปเล่มและภาพประกอบ ด้านการให้ความรู้และแนวคิดเกี่ยวกับการสอนโครงงานฐานวิจัย
ได้ดี ด้านการให้ความรู้และแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการปฏิรูปการเรียนรู้ได้ดี ด้านการให้แนวทางและรายละเอียดเพียงพอที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และเป็นกระบวนการที่สามารถพัฒนานักเรียนเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ทำให้เกิดผลที่คาดหวังได้ ในระดับมากที่สุด ส่วนประเด็นอื่น ๆ มีความเหมาะสมในระดับมาก และเมื่อรวมทุกประเด็น พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมาก โดยมีความคิดเห็นใกล้เคียงกัน
4.2 การศึกษาเอกสารและการรับการนิเทศ พบว่า ครูผู้อบรมชี้แจงสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เห็นความสำคัญของการสอนแบบโครงงานฐานวิจัยวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น และมีความรู้ ได้แนวคิดแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้นในระดับมากมากที่สุด รองลงมา คือ มีความรู้ ได้แนวคิด แนวทางในการนำวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีไปบูรณาการกับสาระอื่น ๆ ได้เพิ่มขึ้น และคิดว่าเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ช่วยพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานฐานวิจัยได้ดียิ่งขึ้น ในระดับปานกลาง และเมื่อรวมทุกประเด็น พบว่า ครูผู้สอนเห็นว่าการศึกษาเอกสารและหรือการรับการนิเทศอยู่ในระดับมาก
5. ความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (RBP : Research Based Project ) พบว่า ครูผู้สอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส่วนใหญ่มีความเห็นต่อการเรียนการงานอาชีพและเทคโนโลยีว่า เนื้อหาในการเรียนมีประโยชน์ เหมาะกับการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน นักเรียนสามารถจดจำเนื้อหาได้ง่ายขึ้นเนื่องจากมีการนำเนื้อหาที่ครูบรรยายไปสู่การปฏิบัติ โดยเฉพาะเนื้อหาเรื่อง การประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติในหน่วยที่ 3 ซึ่งเป็นเนื้อหาที่นักเรียนชอบเรียนมากที่สุด เนื่องจากเปิดโอกาสให้นักเรียนสามารถพัฒนางานจากความคิดของตนเองได้โดยเสรีเกิดบรรยากาศการเรียนร่วมกันระหว่างกลุ่มเพื่อนที่ดี ในด้านรูปแบบการจัดกิจกรรม ครูผู้สอนเห็นว่า เป็นรูปแบบที่ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาการวางแผนการทำงาน รู้จักใช้เหตุผลประกอบการทำงานอย่างพินิจพิเคราะห์จากหลักฐานที่น่าเชื่อถือ มีความยืดหยุ่นของกระบวนการเรียนการสอนมาก เนื่องจากสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองนอกชั้นเรียนได้ ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดสมาธิจดจ่อกับการพัฒนางานวิจัย และส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่มเพื่อน บนฐานของเหตุและผล อย่างไรก็ดี ครูบางส่วนให้ข้อมูลที่เป็นข้อจำกัด คือ เนื้อหาที่สอนมีจำนวนมาก โดยเฉพาะเนื้อหาเรื่องการขยายพันธุ์พืช(หน่วยที่ 5) ที่มีเวลาในการพัฒนางานจำกัด เห็นความเปลี่ยนแปลงของผลการขยายพันธุ์ในวิธีการต่าง ๆ ช้า จึงเสนอให้ขยายเวลาการเรียนในหน่วยดังกล่าว จึงจะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เนื้อหาดังกล่าวโดยสมบูรณ์ นอกจากนี้ในด้านการวัดประเมินผล ครูผู้สอนส่วนใหญ่เห็นว่ามีความเหมาะสมดี เนื่องจากครูผู้สอนได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ และองค์ประกอบที่นักเรียนจะได้รับการตัดสินผลคะแนน ในรายวิชาตั้งแต่แรกสอน และยังมีการสะท้อนข้อเสนอแนะจุดแข็งและจุดที่ควรพัฒนาเพิ่มเติมให้นักเรียนทั้งรายคนและรายกลุ่มทุกครั้ง ทำให้นักเรียนนำสารสนเทศดังกล่าวมาใช้พัฒนาตนเองและพัฒนางานกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ