ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบไตรภาคีเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
ผู้วิจัย นางอรอนงค์ พรหมวิหาร
ปีที่วิจัย 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการนิเทศแบบไตรภาคีเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 2) เพื่อศึกษาผลการประเมินระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 กอนกับหลังการนิเทศ และ 3) เพื่อประเมินคุณภาพรูปแบบการนิเทศแบบไตรภาคีเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
กลุ่มเป้าหมายในการนำรูปแบบการนิเทศแบบแบบไตรภาคีเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ปีการศึกษา 2559 ไปใช้ ได้แก่ สถานศึกษาที่มีผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554 2558) ไม่รับรอง จำนวน 30 โรง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 30 คน ครูผู้สอน จำนวน 224 คน รวม 254 คน
การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติอ้างอิง ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test) ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. รูปแบบการนิเทศแบไตรภาคีเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มีลักษณะสำคัญของรูปแบบการนิเทศมี 4 ขั้นตอน คือขั้นที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและ ความต้องการ ขั้นที่ 2 การวางแผนการนิเทศและกำหนดทางเลือก ขั้นที่ 3 การปฏิบัติการนิเทศ ขั้นที่ 4 การประเมินผลการนิเทศและรายงานผล โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องของรูปแบบการนิเทศฯ ตามมาตรฐานการประเมินทางการศึกษา ในภาพรวม เท่ากับ 0.93 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียง ค่าดัชนีความสอดคล้องจากมากไปน้อย พบว่าค่าดัชนีความสอดคล้องด้านความถูกต้อง เท่ากับ 0.95 ด้านการใช้ประโยชน์เท่ากับ 0.94 ด้านความเป็นไปได้ เท่ากับ 0.93 และ ด้านความเหมาะสม เท่ากับ 0.90
2. ผลการประเมินระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ในภาพรวม พบว่า
2.1 ผลการประเมินระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 โดยภาพรวม อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่าองค์ประกอบที่ 7 การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือองค์ประกอบที่ 8 การจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และองค์ประกอบที่ 5 การจัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
2.2 ผลการประเมินระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำนวน 30 แห่ง มีคะแนนเฉลี่ย (x̄ ) ผลการประเมินระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา หลังการนิเทศ ( x̄ = 3.72,S.D.=0.25) สูงกว่าก่อนนิเทศ ( x̄ = 3.36, S.D.=3.24 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการประเมินคุณภาพรูปแบบการนิเทศแบไตรภาคีเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มีคุณภาพตามาตรฐานการประเมิน ด้านการใช้ประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านความถูกต้องในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการใช้ประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ และด้านความถูกต้อง อยู่ในระดับมากที่สุด