บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการประเมินโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูผู้สอนโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษรูปแบบEnglish Bilingual Education (EBE) สำหรับครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 2และ 5 ระดับภูมิภาค (ภาคใต้) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปฏิกิริยา ประเมินผลการเรียนรู้ ประเมินพฤติกรรม และประเมินผลลัพธ์ที่เกิดต่อองค์กรของ ครูผู้สอนโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษรูปแบบEnglish Bilingual Education (EBE) สำหรับครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 2และ 5 ระดับภูมิภาค (ภาคใต้)
กลุ่มผู้ร่วมศึกษาและให้ข้อมูลใช้ในการประเมิน ได้แก่ 1) ครูภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 2และ 5 ระดับภูมิภาค (ภาคใต้)ปีการศึกษา2559ที่เข้าร่วมประชุมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูผู้สอนโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษรูปแบบEnglish Bilingual Education (EBE) จำนวน 102 โรง มีประชาการ ครูผู้สอน จำนวน 204 คน 2)ผู้บริหารในโรงเรียนโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูผู้สอนโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษรูปแบบEnglish Bilingual Education (EBE) จำนวน 102 โรง มีประชากร ผู้บริหาร จำนวน 102 คนและ 3) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน
เครื่องมือและวิธีการรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ 1) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการปฏิบัติการพัฒนาครูผู้สอนโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษรูปแบบEnglish Bilingual Education (EBE) สำหรับครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 2และ 5 ระดับภูมิภาค (ภาคใต้) ใช้ในการประเมินปฏิกิริยาตอบสนอง 2) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจและทักษะภาษาอังกฤษทั้งการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน ใช้ในการประเมินการเรียนรู้ 3) แบบสอบถามติดตามผลหลังการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูผู้สอนโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษรูปแบบEnglish Bilingual Education (EBE) สำหรับครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 2และ 5 ระดับภูมิภาค (ภาคใต้)ใช้ในการประเมินพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปหลังการอบรมและประเมินผลลัพธ์ที่เกิดต่อองค์กร การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (arithmetic mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)และการทดสอบค่าที (t-test) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของผลการประเมินการเรียนรู้ โดยใช้แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษทั้งการฟัง การพูด การอ่านและการเขียนประเมินก่อนและหลังการฝึกอบรม
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินปฏิกิริยาต่อการพัฒนาครูผู้สอนโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษรูปแบบ English Bilingual Education (EBE) สำหรับครูชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 และ 5 ระดับภูมิภาค (ภาคใต้) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.21,S.D.=0.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ และอื่นๆมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( =4.30,S.D.=0.48) รองลงมาคือด้านด้านหลักสูตรการฝึกอบรม ( =4.25,S.D.=0.45) และด้านวิทยากรมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด( =4.08,S.D.=0.53)
2. ครูผู้สอนโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษรูปแบบEnglish Bilingual Education (EBE) สำหรับครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 5 ระดับภูมิภาค (ภาคใต้) มีผล การประเมินผลการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ย (xbar ) ความรู้ความเข้าใจการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ทั้งการฟัง การพูด การอ่านและการเขียนหลังการฝึกอบรม ( x̄=26.69,S.D.=3.38) สูงกว่าก่อน การฝึกอบรม (x̄ =15.73,S.D.=2.68) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.ผลการประเมินพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้เข้ารับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูผู้สอนโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษรูปแบบ English Bilingual Education (EBE) สำหรับครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 5 ระดับภูมิภาค (ภาคใต้) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ =3.87,S.D.=0.48) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าภายหลังจากการอบรมครูสามารถนำความรู้ เรื่อง Communicative Songs & Chants ไปใช้จัดการสอนในชั้นเรียนได้ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( x̄=4.21,S.D.=0.67) รองลงมาคือภายหลังจากการอบรมครูมีความสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษ และจัดการการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษในชั้นเรียน(x̄ =3.93,S.D.=0.51)และภายหลังจากการอบรมครูสามารถนำความรู้เรื่อง Basic Rules of English Pronunciation ไปใช้จัดการสอนในชั้นเรียนได้มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (x̄ =3.65,S.D.=0.68)
4.ผลการประเมินผลลัพธ์ที่เกิดต่อองค์กรของผู้เข้ารับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูผู้สอนโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษรูปแบบ English Bilingual Education (EBE) สำหรับครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 5 ระดับภูมิภาค (ภาคใต้)โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄=3.78,S.D.=0.42) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าบุคลากรครูในโรงเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( xbar=4.10,S.D.=0.62) รองลงมาคือนักเรียนมีเจตคติที่ดีในการใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน(x̄ =3.95,S.D.=0.65)และนักเรียนมีความรู้ในการใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( x̄=3.61,S.D.=0.61)