ชื่อเรื่อง การสร้างเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะบาตู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต ๑
ผู้ศึกษา นางอนิสา ปะดอ
ตำแหน่ง ครู โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะบาตู สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต ๑
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อสร้างเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะบาตู ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐
๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะบาตู
และ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะบาตู ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะบาตู สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต ๑ ในภาคเรียนที่ ๒ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๑๓ คน ที่ผู้รายงานเป็นครูประจำชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ๑) เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๕ เล่ม ๒) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑๘ แผน ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน ๓๐ ข้อ และ ๔) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุมชน จำนวน ๑๐ ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติคือ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่า
๑) ค่าประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะบาตู ปีการศึกษา ๒๕๕๙ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๖.๐๑/๘๕.๓๘๘ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ ที่กำหนดไว้
๒) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะบาตู ปีการศึกษา ๒๕๕๙ ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ ๔๒.๓๑ และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย ร้อยละ ๘๕.๓๘ โดยมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๔๓.๐๗
๓) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะบาตู ปีการศึกษา ๒๕๕๙ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๔ คิดเป็นร้อยละ ๘๘.๗๗ อยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
๑) จากผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พบว่า ค่าประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุมชน มีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ ที่กำหนดไว้ ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็นพบว่า ประเด็นนักเรียนได้รับความรู้เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุมชนมากขึ้น มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ดังนั้น ครูผู้สอนหรือผู้ที่สนใจสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานักเรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุมชน และนักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ทั้งในครอบครัว ชุมชน และสังคมต่อไป
๒) จากการประเมินความพึงพอใจ พบว่า ประเด็นกิจกรรมการเรียนสนุกและน่าสนใจ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ดังนั้นครูควรพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในชั้นเรียน ดังนั้น ครูผู้สอนหรือผู้ที่ต้องการนำผลการศึกษาไปใช้ควรให้ความสำคัญกับการออกแบบการจัดกิจกรรม ให้มีความเหมาะสม สามารถดึงดูดความสนใจนักเรียนให้ร่วมกิจกรรมได้อย่างมีความสุขและเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป