บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนตัวสะกดตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านบาตง มีวัตถุประสงค์เพื่อ
๑) เพื่อพัฒนาชุดแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนตัวสะกดตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐
๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่จัดการเรียนการสอนด้วยชุดแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนตัวสะกดตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ และ
๓) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่มีต่อการใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนตัวสะกดตรงตามมาตราตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ๑) ชุดแบบฝึกการอ่านและการเขียนตัวสะกดตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๘ เล่ม ๒) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนตัวสะกดตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๑๘ แผน ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านและเขียนตัวสะกดตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน ๓๐ ข้อ และ ๔) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนตัวสะกดตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๑๖ ข้อ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ๔ โรงเรียนบ้านบาตง ในภาคเรียน
ที่ ๑ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๒๑ คน ที่ผู้รายงานเป็นครูผู้สอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ คือ ค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่า
๑. ประสิทธิภาพของชุดแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนตัวสะกดตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านบาตง มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๒.๔๖/๘๒.๘๕
๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนตัวสะกดตรตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านบาตง
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเพิ่มขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๑๓.๔๘ และ
คิดเป็นร้อยละ ๔๒.๒๒
๓. ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการเรียน โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนตัวสะกดตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านบาตง โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๘ และคิดเป็นร้อยละ ๘๙.๗๓
ข้อเสนอแนะ
๑. ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ควรนำชุดฝึกการอ่านและการเขียนตัวสะกดตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมเสริมทักษะภาษาไทย เรื่อง การอ่านและการเขียนตัวสะกดตรงตามมาตรา เพราะจากผลการศึกษายืนยันความสำเร็จในการนำไปใช้แล้ว คือ การมีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๒.๘๕/๘๒.๔๖ สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการอ่านและการเขียนตัวสะกดตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ให้สูงขึ้นได้ และนักเรียนมีความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
๒. จากผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ซึ่งเป็นความคิดเห็นที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมของครูผู้สอน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อประเด็นด้านผลที่นักเรียนได้รับจากการใช้ชุดฝึกการอ่านและการเขียนตัวสะกดตรงตามมาตรา ประเด็นด้านผลที่นักเรียนได้รับจากชุดฝึกการอ่านและการเขียนตัวสะกดตรงตามมาตรา มีระดับความพึงพอใจสูงสุด อาจอธิบายได้ว่า หนังสือชุดฝึกการอ่านและการเขียนตัวสะกดตรงตามมาตราที่สร้างขึ้น สามารถเป็นสื่อการเรียนรู้ที่ดึงดูดใจของนักเรียนให้มีความอยากรู้ อยากเรียนด้วยหนังสือประเภทนี้ ดังนั้นครูผู้สอนควรพัฒนาการสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านให้มีความหลากหลายเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นสื่อนวัตกรรมให้นักเรียนได้ใช้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี