บทคัดย่อ
ชื่อวิจัย การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง วิถีถิ่นวิถีไทย ในเมืองประจวบคีรีขันธ์ สาระการเรียนรู้ เพิ่มเติม รายวิชาประวัติศาสตร์ (ส22202) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรม สาหรับนักเรียนชนมัธยมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย นางจันทนา สืบเสน
ปีที่พิมพ์ 2559
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพนฐาน 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพ ของหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง วิถีถิ่นวิถีไทย ในเมืองประจวบคีรีขันธ์ 3) ทดลองใช้หลักสูตรท้องถิ่น และ
4) ประเมินผลหลักสูตร โดยสร้างเอกสารประกอบหลักสูตรจากข้อมูลท้องถิ่น จังหวดประจวบคีรีขันธ์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชน มัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบ้านห้วยน้าพุ สังกัดสานักงานเขตพนที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จานวน 33 คน โดยสุ่มแบบเจาะจง ใช้เวลาในการทดลอง 20 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น
20 ครั้ง แบบแผนการวิจัย คือ One Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง วิถีถิ่นวิถีไทย ในเมืองประจวบคีรีขันธ์ 2) เอกสารประกอบหลักสูตร ท้องถิ่น 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และ 5) แบบทดสอบความพงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. หลักสูตรท้องถิ่นมีคุณภาพสอดคล้อง ตอบสนองความต้องการ และความสนใจของ นักเรียน และเป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
2. เอกสารประกอบหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง วิถีถิ่นวิถีไทย ในเมืองประจวบคีรีขันธ์ มี
ประสิทธิภาพ 84.90/82.96 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้
3. นักเรียนที่ได้รับการเรียนการสอนตามหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง วิถีถิ่นวิถีไทย ในเมือง ประจวบคีรีขันธ์ สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม รายวิชาประวัติศาสตร์ (ส22202) กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาหรับนักเรียนชนมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชนมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง วิถีถิ่นวิถีไทย ในเมือง ประจวบคีรีขันธ์ มีความพึงพอใจต่อหลักสูตรท้องถิ่น ในระดับ มาก