ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์และสัตว์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ 4 (ว22102) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้รายงาน พนารัตน์ พันธ์สมพงษ์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ
สาขาวิชา วิทยาศาสตร์
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
จากการศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชลราษฎรอำรุง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ที่ผู้รายงานปฏิบัติงานอยู่ พบว่า ปัญหาสำคัญที่ทำให้การเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์และสัตว์ ไม่ประสบผลสำเร็จ คือ นักเรียนขาดความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ สื่อการเรียนการสอนไม่เพียงพอ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูไม่เหมาะสม นักเรียนไม่ได้รับการฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างเพียงพอ รวมทั้งขาดการวัดผลและประเมินผลที่มีคุณภาพ ผู้รายงานจึงได้หาแนวทางในการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบ ต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์และสัตว์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ 4 (ว22102) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ขึ้นมา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์และสัตว์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ 4 (ว22102) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์และสัตว์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์และสัตว์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ 4 (ว22102) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนชลราษฎรอำรุง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี จำนวน 1 ห้องเรียน คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/11 จำนวน 50 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ามี 3 ชนิด ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์และสัตว์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ 4 (ว22102) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 7 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์และสัตว์ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ โดยมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.40 ถึง 0.77 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.27 ถึง 0.87 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์และสัตว์ แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับจำนวน 22 ข้อ มีค่าดัชนี ความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.84
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test dependent
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์และสัตว์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ 4 (ว22102) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 82.07/82.58 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
2. ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ และสัตว์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ 4 (ว22102) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 24.08 หลังใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 33.06 และผลการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์และสัตว์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ 4 (ว22102) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.84 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.08
โดยสรุป ผลการศึกษาค้นคว้าแสดงว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์และสัตว์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ 4 (ว22102) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ นักเรียนมีความพึงพอใจ บรรลุวัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า จึงควรนำไปเผยแพร่ต่อไป