ชื่อผลงาน รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำตามมาตราตัวสะกดในภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านท่าตาฝั่ง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ชื่อผู้ศึกษา อนุชิตา สมโรย
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๙
บทคัดย่อ
รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำตามมาตราตัวสะกดในภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านท่าตาฝั่ง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำตามมาตราตัวสะกดในภาษาไทยให้มีคุณภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ รวมทั้งศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ก่อนและหลังที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำตามมาตราตัวสะกดในภาษาไทย และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำตามมาตราตัวสะกดในภาษาไทย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ โรงเรียนบ้านท่าตาฝั่ง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน ๒๑ คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน ๒๙ แผน ใช้เวลาสอนทั้งหมด ๒๙ ชั่วโมง แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำตามมาตราตัวสะกดในภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๙ ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบ ชนิดเลือกตอบ ๓ ตัวเลือก จำนวน ๒๐ ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำตามมาตราตัวสะกดในภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะ E๑ และ E๒ เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนแต่ละคนด้วยค่าเฉลี่ยและร้อยละ การวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำตามมาตราตัวสะกดในภาษาไทย โดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
ผลการศึกษาพบว่า
๑. ผลการหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำตามมาตราตัวสะกดในภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เมื่อนำไปใช้จริงกับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ ๑โรงเรียนบ้านท่าตาฝั่ง ที่เป็นกลุ่มประชากร มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ โดยมีค่าเฉลี่ย ๘๔.๙๘/๘๘.๕๗
๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำตามมาตราตัวสะกดในภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ สูงกว่าก่อนการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำตามมาตราตัวสะกดในภาษาไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ ๕๘.๙๗
๓. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำตามมาตราตัวสะกดในภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ อยู่ในระดับมากที่สุด