ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA MODEL) เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกด
ตรงมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผู้รายงาน มัทนา เทียมศักดิ์
โรงเรียนบ้านสายโท 4 ใต้ อนุสรณ์ 100 ปี กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
จุดมุ่งหมายของการศึกษา 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA MODEL) เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดตรงมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA MODEL) เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดตรงมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อศึกษาความคงทนทางการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA MODEL) เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำ
มาตราตัวสะกดตรงมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจ
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้
โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA MODEL) เรื่อง การอ่านและการเขียน
สะกดคำมาตราตัวสะกดตรงมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนใน
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านสายโท 4 ใต้ อนุสรณ์ 100 ปี
กระทรวงศึกษาธิการ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ซึ่งผู้รายงานเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 10 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดตรงมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) แผนการจัดการเรียนรู้
โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA MODEL) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดตรงมาตรา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกด
ตรงมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
แบบซิปปา (CIPPA MODEL) เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดตรงมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
จากการศึกษาปรากฏว่า
1. แบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
แบบซิปปา (CIPPA MODEL) เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดตรงมาตรา
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.22/86.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA MODEL) เรื่อง การอ่านและ
การเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดตรงมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA MODEL) เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดตรงมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทำแบบทดสอบหลังเรียนทันทีมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.00 คิดเป็นร้อยละ 86.67 และมีคะแนนทดสอบหลังจากเรียนไปแล้ว 2 สัปดาห์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.10 คิดเป็นร้อยละ 87.33 โดยมีค่าเฉลี่ยจากการทดสอบหลังเรียน
ไปแล้ว 2 สัปดาห์สูงกว่าการทดสอบหลังเรียนทันที มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดตรงมาตรา จากการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA MODEL) เรื่อง การอ่านและ
การเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดตรงมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้
โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA MODEL) เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดตรงมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
ทุกข้อ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.73 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.35