รายงานการวิเคราะห์แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท 23101
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา
นายวิสิทธิ์ มากะเต
รายการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานการวิเคราะห์แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย
รหัสวิชา ท 23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา
ชื่อผู้รายงาน นายวิสิทธิ์ มากะเต
ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
ปีการศึกษา 2558
รายงานการวิเคราะห์แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท 23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท 23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา ประชากร เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท 23101 จำนวน 40 ข้อ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยสำรวจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม EVANA 4.0 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าดัชนี ความสอดคล้อง (IOC) ค่าความยากง่าย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) และค่าความเชื่อมั่น (rt)
ผลการศึกษา พบว่า (1) ค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อสอบมีค่าเท่ากับ 0.67 จำนวน 14 ข้อและค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อสอบมีค่าเท่ากับ 1.00 จำนวน 26 ข้อ แสดงให้เห็นว่าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (2) ค่าความยากง่ายเฉลี่ย เท่ากับ 0.38 ค่าอำนาจจำแนกเฉลี่ย เท่ากับ 0.37 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เท่ากับ 0.72 แสดงให้เห็นว่าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
กิตติกรรมประกาศ
รายงานการการวิเคราะห์แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท 23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดีเพราะได้รับการสนับสนุนจากนายสุคนธ์ โสกรรณิตย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา นายระวีวัฒน์ ศรีมารักษ์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา
ผู้รายงานขอขอบคุณคณะครูทุกท่าน นักเรียนทุกคน และบุคลากรทางการศึกษาที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานครั้งนี้
วิสิทธิ์ มากะเต
สารบัญ
เรื่อง หน้า
บทที่ 1 บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1 1.2 วัตถุประสงค์การวิจัย 2
1.3 ขอบเขตการวิจัย 2
1.4 ข้อตกลงเบื้องต้น 2
1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ 2
1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบทดสอบ 3
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการตรวจคุณภาพแบบทดสอบ 4
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
3.1 ประชากร 7
3.2 กลุ่มตัวอย่าง 7
3.3 รูปแบบการวิจัย 7
3.4 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 7
3.5 การเก็บรวบรวมข้อมูล 8
3.6 การวิเคราะห์ข้อมูล 8
3.7 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 8
บทที่ 4 ผลการวิจัย
ตารางที่ 1 แสดงค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) 10
ตารางที่ 2 แสดงค่าความยากง่าย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) และค่าความเชื่อมั่น (rt) 12
บทที่ 5 สรุปผลวิจัย
สรุปผลและข้อเสนอแนะ 14
บรรณานุกรม 16
ภาคผนวก 17
ภาคผนวก ก รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ
ภาคผนวก ข คุณภาพของเครื่องมือ
ภาคผนวก ค การเผยแพร่ผลงาน
ภาคผนวก ง ประวัติผู้รายงาน
บทที่ 1
บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 มาตรา 22 กำหนดแนวทางการจัดการศึกษาไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า นักเรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่านักเรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้นักเรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ (กรมวิชาการ. 2545 : 21) มาตรา 23 การจัดการศึกษาให้ความสำคัญของการบูรณาการความรู้คู่คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ตามความเหมาะสมของระดับการศึกษา (กรมวิชาการ. 2545 : 1) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนซึ่งเป็นกำลังของชาติ ให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2552 : 4)
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ต้องอยู่บนหลักการพื้นฐาน 2 ประการคือการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนและเพื่อตัดสินผลการเรียน ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนของผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จนั้น ผู้เรียนจะต้องได้รับการพัฒนาและประเมินตามตัวชี้วัดเพื่อให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้
(ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะ และประดับ นาคแก้ว. 2551 : 7) สอดคล้องกับสำนักทดสอบทางการศึกษา (2557 : 3) ที่กล่าวว่าการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ผู้สอนจะต้องนำมาตรฐานและตัวชี้วัดมาเป็นกรอบในการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน โดยการวิเคราะห์จากผลการตอบแบบทดสอบของผู้เรียน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดความรู้ความสามารถของนักเรียนด้านวิชาการ ซึ่งเป็นผลจากการเรียนรู้ในเนื้อหาสาระและตามจุดประสงค์ของวิชานั้น ๆ โดยที่คุณลักษณะของแบบทดสอบที่ดีมี 5 ประการได้แก่ ความเป็นปรนัย (Objectivity) ความเที่ยงตรง (Validity) ความเชื่อมั่น (Reliability) ความยากง่าย (Difficulty) และอำนาจจำแนก (Discrimination) (ศูนย์บริการทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2557 : 37-38)
ด้วยหลักการและเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้รายงานจึงได้ดำเนินการวิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท 23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพเครื่องมือวัดและประเมินผลของนักเรียนต่อไป
1.2 วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อวิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท 23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา ตำบลโคกตะเคียน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
1.3 ขอบเขตการวิจัย
1.3.1 ประชากร เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน
1.3.2 กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
1.4 ข้อตกลงเบื้องต้น
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบสำรวจ ข้อสรุปที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้จะนำไปพัฒนาคุณภาพนักเรียนโรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ต่อไป
1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ
1.5.1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้วัดความรู้ความสามารถของนักเรียน วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท 23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา จำนวน 40 ข้อ
1.5.2 นักเรียน หมายถึง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา อำเภอ กาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558
1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.6.1 ประโยชน์ต่อนักเรียน เป็นแนวทางในการพัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
1.6.2 ประโยชน์ต่อครู เป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
1.6.3 ประโยชน์ต่อโรงเรียน เป็นแนวทางในการพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลที่มีคุณภาพเพื่อนำไปสู่นวัตกรรมทางการศึกษา
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับรายงานการวิเคราะห์แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท 23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา ผู้รายงานขอเสนอดังต่อไปนี้
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบทดสอบ
ความหมายของแบบทดสอบ
บุญชม ศรีสะอาด. (2545 : 53) ได้ให้ความหมายของแบบทดสอบ ไว้ว่า เป็นชุดคำถาม (Item) ที่สร้างขึ้นเพื่อนำไปเร้าให้กลุ่มตัวอย่างตอบสนองออกมา การตอบอาจอยู่ในรูปของการเขียนตอบ การพูด การปฏิบัติที่สามารถสังเกตได้ วัดให้เป็นปริมาณได้ คำถาม และคำตอบ โดยตัวคำถามมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ตอบได้แสดงความรู้ความสามารถต่าง ๆ ตามที่ ผู้ถามต้องการ ส่วนตัวคำตอบผู้ตอบต้องใช้เวลาในการคิดแล้วทำเครื่องหมายบนคำตอบที่ต้องการ
ศูนย์บริการวิชาการ. (2557 : 37) ได้ให้ความหมายของแบบทดสอบไว้ว่า หมายถึง ชุดของข้อคำถามที่สร้างขึ้นด้วยกระบวนการที่มีระบบ เพื่อเร้าให้บุคคลแสดงพฤติกรรมหรือปฏิกิริยาตอบโต้ออกมา โดยพฤติกรรมหรือปฏิกิริยานั้นสามารถสังเกตหรือวัดได้
สรุปได้ว่า แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้วัดความรู้
ความสามารถของนักเรียนในด้านวิชาการ ซึ่งเป็นผลมาจากการเรียนรู้ในเนื้อหาสาระนั้น ๆ
หลักการสร้างแบบทดสอบ
บุญชม ศรีสะอาด. (2545 : 66) ได้สรุปหลักการเขียนข้อสอบแบบเลือกตอบ ไว้ดังนี้
1. ควรถามในเรื่องที่มีคุณค่าต่อการวัด
2. เขียนตอนนำหรือตอนถามให้อยู่ในรูปของคำถาม
3. ตัวคำถามมีความหมายแจ่มชัด
4. คำตอบที่ถูก จะต้องเป็นคำตอบที่ถูกต้องตามหลักวิชาจริง ๆ
5. คำตอบที่ถูกกับคำตอบที่ผิด ไม่แตกต่างจนเด่นชัดเกินไป
6. แต่ละข้อจะต้องมีคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว
7. ตัวคำตอบที่ถูกต้อง จะต้องไม่มีลักษณะรูปแบบแตกต่างจากตังลวงอื่น ๆ
8. ตัวลวง ควรเป็นคำตอบที่มีคุณค่าสำหรับตัวลวง
9. ตัวเลือกไม่ก้าวก่ายกัน
10. ใช้ตัวเลือกปลายเปิดให้เหมาะสม
11. เรียงลำดับตัวเลือกที่เป็นตัวเลข
12. ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย
13. มีตัวเลือก 4 หรือ 5 ตัว
14. กรณีใช้คำถามปฏิเสธ ควรใช้ให้เหมาะสมและขีดเส้นใต้หรือตัวหนาตรงปฏิเสธนั้น
15. ออกให้เป็นรูปภาพถ้าสามารถทำได้
16. ไม่ควรให้ตัวเลือกใดตัวเลือกหนึ่งมีโอกาสถูกบ่อยจนเกินไป
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2546 : 56) ได้สรุปหลักการเขียนข้อสอบแบบเลือกตอบ ไว้ดังนี้
1. วิเคราะห์จุดประสงค์ เนื้อหาวิชา
2. กำหนดพฤติกรรมย่อยที่จะออกข้อสอบ
3. กำหนดรูปแบบของข้อคำถาม และศึกษาวิธีการเขียนข้อสอบ
4. ลงมือเขียนข้อสอบตามจุดประสงค์ที่ได้กำหนดไว้
5. นำข้อสอบที่เขียนไว้มาพิจารณาทบทวน ความถูกต้องตามหลักวิชา
6. ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา
7. พิมพ์แบบทดสอบฉบับทดลอง
8. ทดลองใช้ วิเคราะห์คุณภาพ และปรับปรุง
9. พิมพ์แบบทดสอบฉบับจริง
ศูนย์บริการวิชาการ. (2557 : 37) ได้สรุปหลักทั่วไปในการเขียนข้อสอบ ไว้ด้งนี้
1. ถามให้ครอบคลุม (comprehensive)
2. ถามแต่สิ่งสำคัญ (significance)
3. ถามให้ลึก (searching)
4. ถามสิ่งที่เป็นแบบอย่างที่ดี (exemplary)
5. ถามให้จำเพาะเจาะจง (definite)
สรุปได้ว่า หลักการเขียนและพัฒนาแบบทดสอบที่ดีมีคุณภาพ ประกอบด้วยประเด็นคำถามต้องชัดเจน วัดได้ตรงจุด ผลการวัดเชื่อถือได้ มีความยากง่ายพอเหมาะ สามารถจำแนกคนเก่งและ
คนอ่อนได้จริง และสามารถสร้างแรงจูงใจให้อยากตอบด้วยความรู้สึกที่ดี
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบ
คุณลักษณะของแบบทดสอบ
เครื่องมือวัดและประเมินผลที่มีคุณภาพจะสามารถสะท้อนความรู้ความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียนได้อย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือ ในทางวิชาการเครื่องมือวัดและประเมินผลจะต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญ 5 ประการดังนี้ (สำนักทดสอบทางการศึกษา. 2557 : 106)
1. ความเที่ยงตรง หรือความตรง (Validity) เป็นคุณสมบัติที่ชี้ให้เห็นว่า เครื่องมือสามารถวัดในสิ่งที่ต้องการวัดได้อย่างถูกต้อง แม่นยำวัดตรงตามสิ่งที่ต้องการวัด โดยแบ่งออกเป็น 4 ชนิดได้แก่
ความตรงตามเนื้อหา ความตรงตามโครงสร้าง ความตรงตามสภาพ และความตรงตามพยากรณ์
2. ความเที่ยง หรือความเชื่อมั่น (Relaibility) เป็นสมบัติที่ชี้ให้เห็นว่า เครื่องมือสามารถวัดแล้วให้ผลคงเส้นคงวา หรือการให้ผลการวัดที่คงที่แน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะวัดซ้ำกี่ครั้ง
3. ความยากง่าย (Difficulty) เป็นสมบัติที่ชี้ให้เห็นว่า เครื่องมือมีความยากง่ายเหมาะสมกับความรู้ความสามารถของผู้เรียนหรือไม่
4. อำนาจจำแนก (Discrimination) เป็นสมบัติที่ชี้ให้เห็นว่า เครื่องมือสามารถแบ่งหรือแยกกลุ่มผู้ตอบออกจากกันตามคุณลักษณะที่ถูกวัด ได้ว่าคนใดเก่ง อ่อนกว่ากัน หรือทัศนะดี ไม่ดีกว่ากัน
5. ความเป็นปรนัย (Objectivity) เป็นสมบัติที่ชี้ให้เห็นว่า เครื่องมือสามารถสื่อความหมายได้ชัดเจนและมีความหมายเดียวกัน ซึ่งสามารถพิจารณาได้ 3 มิติได้แก่ความปรนัยของข้อคำถาม ความปรนัย
ของการให้คะแนน แลความปรนัยของการแปลความหมาย
คุณภาพของแบบทดสอบ
การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือในการวัดและประเมินผล ครูผู้สอนสามารถดำเนินการได้ดังนี้
(สำนักทดสอบทางการศึกษา. 2557 : 107-111)
1. ความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์ (IOC : Index of item Ojective Congruence) เป็นการพิจารณาว่าข้อสอบที่สร้างขึ้นมานั้น สามารถวัดพฤติกรรมของนักเรียนที่ระบุไว้ในมาตรฐานและตัวชี้วัดได้หรือไม่ โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญไม่ต่ำกว่า 3 คนมาพิจารณา และตรวจให้คะแนนผลการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญต่อข้อคำถามรายข้อ มีรายละเอียดดังนี้ ให้ +1 ถ้าแน่ใจว่า ข้อคำถามสอดคล้องกับจุดประสงค์ที่ต้องการวัด ให้ 0 ถ้าไม่แน่ใจว่า ข้อคำถามสอดคล้องกับจุดประสงค์ที่ต้องการวัด
ให้ -1 ถ้าแน่ใจว่า ข้อคำถามไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่ต้องการวัด สำหรับการแปลความหมายดัชนีความสอดคล้องโดยใช้เกณฑ์ดังนี้ ถ้า IOC มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 0.5 หมายความว่า ข้อคำถามวัดได้ตรงตามเนื้อหาและสอดคล้องกับจุดประสงค์ที่ต้องการวัด ถ้า IOC มีค่าน้อยกว่า 0.5 หมายความว่า ข้อคำถามวัดไม่ตรงตามเนื้อหาและไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่ต้องการวัด
2. ความยากง่ายของข้อสอบ (Item Difficulty : p) หมายถึง สัดส่วนของจำนวนคนที่ตอบข้อสอบข้อนั้นถูกต้อง โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 0 1.00 ซึ่งสามารถแปลความหมายได้ดังนี้
ความยากง่าย ความหมาย
0.80 1.00 ง่ายมาก
0.60 0.79 ค่อนข้างง่าย
0.40 0.59 ปานกลาง
0.20 0.39 ค่อนข้างยาก
0.00 0.19 ยากมาก
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีคุณภาพ ควรมีค่า p อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมระหว่าง
0.02 0.80 (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 83)
3. ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ (Item Discrimination : r) หมายถึงความสามารถของข้อสอบในการจำแนกให้เห็นถึงความแตกต่างของผู้สอบที่มีคุณลักษณะที่ต้องการวัดต่างกันเพียงไร โดยมีค่าอยู่
ระหว่าง -1.00 1.00 ซึ่งสามารถแปลความหมายได้ดังนี้
อำนาจจำแนก ความหมาย
0.60 1.00 ดีมาก
0.40 0.59 ดี
0.20 0.39 พอใช้
0.10 0.19 ค่อนข้างต่ำ
0.00 0.09 ต่ำมาก
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีคุณภาพ ควรมีค่าอำนาจจำแนกเป็นบวก ยิ่งมีค่ามากยิ่งดี และต้องมีค่าอำนาจจำแนกไม่ต่ำกว่า 0.20 (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 83)
4. ค่าความเชื่อมั่น (Relaibility : rt) หมายถึงความคงที่แน่นอนของคะแนนที่ข้อสอบวัดออกมาได้ตามความมุ่งหมาย ในแง่ทางสถิติความเชื่อมั่น จะเป็นค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (rxy) ระหว่างคะแนนข้อสอบชุดนั้นกับคะแนนของข้อสอบอีกชุดหนึ่ง โดยมีข้อตกลงเบื้องต้นว่า แบบทดสอบนั้นจะต้องวัดคุณลักษณะร่วมกัน ผู้ทำถูกให้ 1 คะแนน ส่วนผู้ทำผิดให้ 0 คะแนน
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
รายงานการวิเคราะห์แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท 23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา มีวิธีดำเนินการดังต่อไปนี้
3.1 ประชากร
ประชากร เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน
3.2 กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2558 จำนวน 15 คน
3.3 รูปแบบการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบสำรวจ
3.4 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท 23101
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา ได้ดำเนินการจัดทำและพัฒนาให้มีคุณภาพ
ตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ศึกษาและวิเคราะห์สาระ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดสาระที่ 4 และสาระที่ 5
ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
2. ศึกษาหนังสือ เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน
3. กำหนดรูปแบบของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้แบบทดสอบปรนัย
แบบเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก และข้อสอบแบบอัตนัย (เติมคำ)
4. สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ให้ครอบคลุมสาระ มาตรฐานการเรียนรู้
และตัวชี้วัด เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน เพื่อตรวจสอบและพิจารณาปรับปรุงแก้ไข
5. นำผลการประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์ (IOC) มาวิเคราะห์และ
คัดเลือกข้อสอบที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป
6. นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไปใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์หา
คุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยมีระดับการประเมินคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดังนี้
ค่าดัชนีความสอดคล้อง มีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป
ค่าความยากง่าย มีค่าตั้งแต่ 0.20 0.80
ค่าอำนาจจำแนก มีค่าตั้งแต่ 0.20 1.00
ค่าความเชื่อมั่น มีค่าตั้งแต่ 0.70 ขึ้นไป
3.5 การเก็บรวบรวมข้อมูล
ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้การสำรวจจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน
โคกตะเคียนวิทยา อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
3.6 การวิเคราะห์ข้อมูล
ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรม EVANA 4.0
3.7 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. การหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) (วาโร เพ็งสวัสดิ์. 2546 : 88)
IOC =
เมื่อ IOC แทน ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์
แทน ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด
N แทน จำนวนผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด
2. การหาค่าความยากง่าย (p) (สำนักทดสอบทางการศึกษา. 2557 : 109)
p =
เมื่อ p แทน ค่าความยากง่ายของข้อสอบ
RH แทน จำนวนคนที่ตอบข้อสอบถูกในกลุ่มสูง
RL แทน จำนวนคนที่ตอบข้อสอบถูกในกลุ่มต่ำ
NH แทน จำนวนคนทั้งหมดในกลุ่มสูง
NL แทน จำนวนคนทั้งหมดในกลุ่มต่ำ
3. การหาค่าอำนาจจำแนก (r) (วาโร เพ็งสวัสดิ์. 2546 : 80)
r =
เมื่อ r แทน ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ
RH แทน จำนวนคนในกลุ่มสูงที่ตอบถูก
RL แทน จำนวนคนในกลุ่มต่ำที่ตอบถูก
NH แทน จำนวนคนทั้งหมดในกลุ่มสูง
4. การหาค่าความเชื่อมั่น (rt) (สำนักทดสอบทางการศึกษา. 2557 : 112)
rt =
เมื่อ rt แทน สัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ
n แทน จำนวนข้อของแบบทดสอบ
p แทน สัดส่วนของผู้เรียนที่ทำข้อสอบข้อนั้นถูกกับผู้เรียนทั้งหมด
q แทน สัดส่วนของผู้เรียนที่ทำข้อสอบข้อนั้นผิดกับผู้เรียนทั้งหมด
St2 แทน ความแปรปรวนของคะแนนสอบทั้งฉบับ
บทที่ 4
ผลการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท 23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา ผู้รายงานขอนำเสนอผลการศึกษาดังต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท 23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา
ข้อที่ ผลการพิจารณา รวม ค่าเฉลี่ย สรุปผล
คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3
1 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้
2 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้
3 +1 +1 0 2 0.67 ใช้ได้
4 +1 0 +1 2 0.67 ใช้ได้
5 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้
6 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้
7 0 +1 +1 2 0.67 ใช้ได้
8 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้
9 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้
10 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้
11 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้
12 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้
13 +1 0 +1 2 0.67 ใช้ได้
14 +1 +1 0 2 0.67 ใช้ได้
15 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้
16 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้
17 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้
18 0 +1 +1 2 0.67 ใช้ได้
19 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้
20 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้
ตารางที่ 1 (ต่อ)
ข้อที่ ผลการพิจารณา รวม ค่าเฉลี่ย สรุปผล
คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3
21 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้
22 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้
23 +1 +1 0 2 0.67 ใช้ได้
24 +1 0 +1 2 0.67 ใช้ได้
25 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้
26 0 +1 +1 2 0.67 ใช้ได้
27 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้
28 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้
29 0 +1 +1 2 0.67 ใช้ได้
30 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้
31 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้
32 +1 0 +1 2 0.67 ใช้ได้
33 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้
34 +1 +1 0 2 0.67 ใช้ได้
35 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้
36 0 +1 +1 2 0.67 ใช้ได้
37 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้
38 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้
39 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้
40 +1 +1 0 2 0.67 ใช้ได้
จากตารางที่ 1 พบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อสอบมีค่าเท่ากับ 0.67 จำนวน 14 ข้อและค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อสอบมีค่าเท่ากับ 1.00 จำนวน 26 ข้อ แสดงให้เห็นว่าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ตารางที่ 2 แสดงค่าความยากง่าย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) และค่าความเชื่อมั่น (rt) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท 23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา
ข้อที่ ค่าความยากง่าย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) ค่าความเชื่อมั่น (rt)
1 0.60 0.80
2 0.20 0.00
3 0.60 0.40
4 0.40 0.00
5 0.70 0.20
6 0.50 0.20
7 0.10 0.20
8 0.20 0.00
9 0.50 0.20
10 0.00 0.00
11 0.50 0.20
12 0.30 0.60
13 0.50 0.60
14 0.40 0.40
15 0.10 0.20
16 0.40 0.40
17 0.30 0.20
18 0.40 0.80
19 0.40 0.80
20 0.20 0.00
21 0.30 0.20
22 0.10 0.20
23 0.60 0.40
24 0.20 0.00
25 0.40 0.80
26 0.50 0.60
27 0.50 0.60
28 0.40 0.80
29 0.60 0.40
30 0.60 0.40
ตารางที่ 2 (ต่อ)
ข้อที่ ค่าความยากง่าย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) ค่าความเชื่อมั่น (rt)
31 0.30 0.20
32 0.70 0.60
33 0.40 0.40
34 0.30 0.60
35 0.30 0.20
36 0.20 0.00
37 0.30 0.20
38 0.50 0.60
39 0.60 0.00
40 0.20 0.00
ค่าเฉลี่ย 0.38 0.37 0.72
จากตารางที่ 2 พบว่า ค่าความยากง่ายเฉลี่ย เท่ากับ 0.38 ค่าอำนาจจำแนกเฉลี่ย เท่ากับ 0.37
และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เท่ากับ 0.72 แสดงให้เห็นว่าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
บทที่ 5
สรุปผลการวิจัย
รายงานการวิเคราะห์แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท 23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา ผู้รายงานขอสรุปผลการวิจัยดังต่อไปนี้
5.1 วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อวิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท 23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา
5.2 ประชากร
ประชากร เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน
5.3 กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2558 จำนวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
5.4 รูปแบบการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบสำรวจ
5.5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
แบบบันทึกผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
5.6 การเก็บรวบรวมข้อมูล
ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้การสำรวจจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน
โคกตะเคียนวิทยา อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
5.7 การวิเคราะห์ข้อมูล
ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรม EVANA 4.0
5.8 สรุปผลการวิจัย
1. ค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อสอบมีค่าเท่ากับ 0.67 จำนวน 14 ข้อและค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อสอบมีค่าเท่ากับ 1.00 จำนวน 26 ข้อ แสดงให้เห็นว่าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ค่าความยากง่ายเฉลี่ย เท่ากับ 0.38 ค่าอำนาจจำแนกเฉลี่ย เท่ากับ 0.37 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เท่ากับ 0.72 แสดงให้เห็นว่าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
5.9 ข้อเสนอแนะ
1. นักเรียน ควรได้รับการวัดและประเมินผลจากเครื่องมือที่มีคุณภาพทุกรายวิชา
2. ครู ควรศึกษาค้นคว้าหานวัตกรรมเพื่อประเมินผลตามสภาพจริง
3. โรงเรียน ควรส่งเสริมการพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลอย่างหลากหลาย
บรรณานุกรม
กรมวิชาการ. 2545. การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
บุญชม ศรีสะอาด. 2545. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสานส์น.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. 2546. การวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสานส์น.
ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2557. เอกสารประกอบการอบรม การวัด
และประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. 2552. หลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์
การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. 2557. คู่มือการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนและศึกษานิเทศก์
การประเมินผลในชั้นเรียน เพื่อวินิจฉัยข้อบกพร่องผู้เรียน. กรุงเทพฯ : สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก
รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ
บันทึกข้อความ
ส่วนราชการ โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
ที่ ศธ ๐๔๒๖๓.๗๓ / พิเศษ วันที่ ๒๒ เดือน กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘
เรื่อง ขอความอนุเคราะห์แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ
.........................................................................................................................................................................
เรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา
ด้วย นายวิสิทธิ์ มากะเต ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓ ได้จัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งในการจัดทำผลงานทางวิชาการดังกล่าว จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบ ประเมินผลให้มีความถูกต้อง สมบูรณ์ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการจัดการเรียนรู้
ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาผลงานทางวิชาการดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุ วัตถุประสงค์ ทางโรงเรียนจึงขอความอนุเคราะห์จากท่าน เป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือและให้คำปรึกษาในการดำเนินการดังกล่าว โรงเรียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงได้รับความอนุเคราะห์จากท่านด้วยดี และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและพิจารณาดำเนินการต่อไป
(นายวิสิทธิ์ มากะเต)
ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย
ความเห็นของผู้อำนายการโรงเรียน
ลงชื่อ
(นายสุคนธ์ โสกรรณิตย์)
ผู้อำนวยการโรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา
ที่ ศธ ๐๔๒๖๓.๗๓/ พิเศษ โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา
อำเภอกาบเชิง
จังหวัดสุรินทร์ ๓๒๒๑๐
๒๒ กันยายน ๒๕๕๘
เรื่อง ขอความอนุเคราะห์เป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบผลงานทางวิชาการ
เรียน นายพรหม ผูกดวง
ด้วย นายวิสิทธิ์ มากะเต ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา จังหวัดสุรินทร์ สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓ ได้จัดทำผลงานทางวิชาการเรื่อง การวิเคราะห์แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท 23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา ซึ่งในการจัดทำผลงานดังกล่าว จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบ ประเมินผลให้มีความถูกต้อง สมบูรณ์ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการจัดการเรียนรู้
ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาผลงานทางวิชาการดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุวัตถุประสงค์ ทางโรงเรียนจึงขอความอนุเคราะห์จากท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือและให้คำปรึกษาในการดำเนินการดังกล่าว โรงเรียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงได้รับความอนุเคราะห์จากท่านด้วยดี และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์
ขอแสดงความนับถือ
(นายสุคนธ์ โสกรรณิตย์)
ผู้อำนวยการโรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา
กลุ่มบริหารงานบุคคล
โทร./โทรสาร ๐๔๔๗๑๒๐๗๑
ที่ ศธ ๐๔๒๖๓.๗๓/ พิเศษ โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา
อำเภอกาบเชิง
จังหวัดสุรินทร์ ๓๒๒๑๐
๒๒ กันยายน ๒๕๕๘
เรื่อง ขอความอนุเคราะห์เป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบผลงานทางวิชาการ
เรียน นางจุไรวรรณ หนุนชู
ด้วย นายวิสิทธิ์ มากะเต ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา จังหวัดสุรินทร์ สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓ ได้จัดทำผลงานทางวิชาการเรื่อง การวิเคราะห์แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท 23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา ซึ่งในการจัดทำผลงานดังกล่าว จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบ ประเมินผลให้มีความถูกต้อง สมบูรณ์ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการจัดการเรียนรู้
ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาผลงานทางวิชาการดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุวัตถุประสงค์ ทางโรงเรียนจึงขอความอนุเคราะห์จากท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือและให้คำปรึกษาในการดำเนินการดังกล่าว โรงเรียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงได้รับความอนุเคราะห์จากท่านด้วยดี และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์
ขอแสดงความนับถือ
(นายสุคนธ์ โสกรรณิตย์)
ผู้อำนวยการโรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา
กลุ่มบริหารงานบุคคล
โทร./โทรสาร ๐๔๔๗๑๒๐๗๑
ที่ ศธ ๐๔๒๖๓.๗๓/ พิเศษ โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา
อำเภอกาบเชิง
จังหวัดสุรินทร์ ๓๒๒๑๐
๒๒ กันยายน ๒๕๕๘
เรื่อง ขอความอนุเคราะห์เป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบผลงานทางวิชาการ
เรียน นายระวีวัฒน์ ศรีมารักษ์
ด้วย นายวิสิทธิ์ มากะเต ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา จังหวัดสุรินทร์ สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓ ได้จัดทำผลงานทางวิชาการเรื่อง การวิเคราะห์แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท 23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา ซึ่งในการจัดทำผลงานดังกล่าว จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบ ประเมินผลให้มีความถูกต้อง สมบูรณ์ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการจัดการเรียนรู้
ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาผลงานทางวิชาการดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุวัตถุประสงค์ ทางโรงเรียนจึงขอความอนุเคราะห์จากท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือและให้คำปรึกษาในการดำเนินการดังกล่าว โรงเรียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงได้รับความอนุเคราะห์จากท่านด้วยดี และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์
ขอแสดงความนับถือ
(นายสุคนธ์ โสกรรณิตย์)
ผู้อำนวยการโรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา
กลุ่มบริหารงานบุคคล
โทร./โทรสาร ๐๔๔๗๑๒๐๗๑
ภาคผนวก ข
คุณภาพของเครื่องมือ
ข้อสอบกลางภาค
รายวิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท 23101
โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา ตำบลโคกตะเคียน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
คำชี้แจง : ตอนที่ 1 แบบปรนัย 4 ตัวเลือกให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดแล้วทำเครื่องหมาย x ลงในกระดาษคำตอบให้ถูกต้อง
1. ข้อใดเป็นบุคลิกที่แท้จริงของนางผีเสื้อสมุทร
ก. พลางโผโผนโจนโจมเสียงโครมคราม เข้าไล่ตามคลุกคลีตีไปพลาง
ข. จะไปไหนไม่ว่าจะตามส่ง ไหนทรงฤทธิ์บิตะรงค์เล่าลูกเอ๋ย
ค. ด้วยกลิ่นอายคล้ายท่านผู้มารดร เมื่อจับข้าข้าจึงอ่อนผ่อนกำลัง
ง. แม้นประสงค์สิ่งไรในนที สิ่งที่มีจะเอามาสารพัน
2. นางผีเสื้อสมุทรเป็นแบบอย่างในเรื่องใด
ก. รักจริง ข. มีมานะ ค. มีความอดทน ง. รู้จักกาลเทศะ
3. เงือกตายายเป็นตัวแทนของคุณธรรมข้อใดเด่นชัดที่สุด
ก. อุเบกขา คือ การวางเฉย
ข. กรุณา คือ ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์
ค. มุทิตา คือ ความยินดีในลาภสรรเสริญสุขของผู้อื่น
ง. เมตตา คือ ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีสุข
4. คำที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดไม่ใช่คำศัพท์ที่แปลว่า น้ำ
ก. เจียนจะสิ้นชีวาในสาคร ข. ถึงม้วยมอดมิให้แจ้งแห่งนุสนธิ์
ค. ค่อยลอยรั้งรอมาในวาริน ง. ครั้นลุยอ่อนอุตส่าห์ว่ายสายกระสินธุ์
5. พระอภัยมณีตอนที่นักเรียนเรียนมุ่งเน้นในเรื่องใด
ก. ทุกข์ที่เกิดจากการพลัดพราก ข. ความไม่เข้าใจในครอบครัว
ค. ศักดิ์ศรีที่ต่างกัน ง. การฝืนธรรมชาติของโลก
6. พระอภัยมณีรับขวัญลูกชายด้วยสิ่งใด
ก. พระศอ ข. พระธำมรงค์ ค. พระกร ง. พระยี่ภู่
7. ตัวละครใดที่มิใช่อมนุษย์
ก. สินสมุทร ข. ศรีสุวรรณ ค. นางผีเสื้อสมุทร ง. เงือก
8. พอเห็นเงาเขาขวางอยู่กลางน้ำ พิลึกล้ำกว่าคีรีที่ไหนไหน
ข้อความนี้หมายถึงอะไร
ก. เงือก ข. นางผีเสื้อสมุทร ค. สินสมุทร ง. ภูเขา
9. ไม่คลาดเคลื่อนเหมือนองค์พระทรงเดช แต่ดวงเนตรแลดูดังสุริย์ฉาย
ทรงกำลังดังพระยาคชาพลาย มีเขี้ยวคล้ายชนนีมีศักดา
ข้อความข้างต้นหมายถึงใคร
ก. นางเงือก ข. สุดสาคร ค. สินสมุทร ง. นางผีเสื้อสมุทร
10. กระโห้เรียงเคียงกระโห้ขึ้นโบกหาง ลอยสล้างกลางกระแสแลสลอน
มังกรเกี่ยวเลี้ยวลอดกอดมังกร ประชุมซ่อนแฝงชลขึ้นวนเวียน
คำประพันธ์ข้างต้นเด่นวรรณศิลป์ในด้านใด
ก. คำพ้อง ข. คำซ้ำ ค. คำเลียนเสียงโรรมชาติ ง. การใช้โวหาร
11. ใครเป็นผู้แต่งเรื่องพระอภัยมณี
ก. พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) ข. พระสุนทรโวหาร (ภู่)
ค. พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม) ง. พระยาวชิราปราการ (ตรี)
12. พระอภัยมณีและศรีสุวรรณต้องพลัดพรากจากกันเพราะเหตุใด
ก. แยกย้ายกันเพื่อศึกษาศิลปศาสตร์เพิ่มเติม
ข. นางผีเสื้อสมุทรลักพาตัวพระอภัยมณี
ค. เพราะพราหมณ์ต้องการทดสอบความสามารถของพระอภัยมณี
ง. เพราะต้องการทดสอบเวทมนต์
13. นิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณีแต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดใด
ก. กลอนสุภาพ ข. กลอนบทละคร
ค. กาพย์ยานี 11 ง. กาพย์ฉบัง 16
14. เหตุใดผู้อ่านจึงจดจำคำประพันธ์ในเรื่องพระอภัยมณีได้หลายตอน
ก. เนื่องจากถูกบังคับให้ท่อง
ข. ผู้อ่านมีความชื่นชมในความสามารถของผู้ประพันธ์
ค. ลักษณะคำประพันธ์ต่อการจดจำ
ง. ถ้อยคำลึกซึ้งกินใจและให้คติทั้งโลกและทางธรรม
15. ปี่ของพระอภัยมณีเมื่อได้ฟังจะทำให้เกิดสิ่งใด
ก. สามารถทำให้คนฟังเกิดความมึนงง ข. ทำให้เคลิ้มหลับได้
ค. สามารถเรียกลมฝนได้ ง. สามารถบังคับภูตผีปีศาจได้
16. ข้อใดใดให้เห็นว่าสินสมุทรมีพละกำลังมาก
ก. เข้าลองพลักด้วยกำลังก็พังผาง ข. ฉุดกระชากลากหางขึ้นกลางหาด
ค. ทรงกำลังดังพระยาคชาพลาย ง. มีเขี้ยวคล้ายชนนีมีศักดา
17. เหตุใดสินสมุทรจึงรักในตัวพระอภัยมณีมากกว่านางผีเสื้อสมุทร
ก. เนื่องจากมารดาเป็นนางยักษ์ ข. เพราะพระอภัยมณีตามใจมากกว่า
ค. เพราะมารดาชอบดุและบังคับ ง. เพราะมารดาชอบทำโทษ
18. เงือกที่สินสมุทรจับมานั้นมีอายุกี่ปี
ก. 50 ปี ข. 100 ปี ค. 500 ปี ง. 1000 ปี
19. คำประพันธ์ในข้อใดบรรยายให้เห็นภาพได้ชัดเจนที่สุด
ก. จะหนีนางกลางสมุทรก็สุดแรง รำพันแจ้งความจริงทุกสิ่งไป
ข. ผีเสื้อน้ำซ้ำวอนด้วยอ่อนหวาน ไม่โปรดปรานอนุกูลเลนทูนหัว
ค. เที่ยวแลรอบขอบเขตเขาชะอุ้ม ยิ่งมืดคลุ้มก็ยิ่งคลั่งตั้งแต่หา
ง. เสียงครืนโครมโดดตะครุบก้อนศิลา จนหน้าตาแตกยับลงสับเงา
20. เงือกผู้เฒ่าเคารพอภิวาท ขอรองบาทบริรักษ์จนตักษัย
คำที่ขีดเส้นใต้อ่านว่าอย่างไร
ก. อะ พิ วาด ข. อับ พิ วาด
ค. อบ พิ วาด ง. อา พิ วาด
21. ชาวต่างประเทศในเมืองไทยมีความคิดเกี่ยวกับคำว่า ไม่เป็นไร เช่นใด
ก. แสดงถึงความมีน้ำใจไมตรี เอื้อเฟื้อ ไม่เอาเรื่องเอาราวใคร
ข. แสดงถึงความมีคุณธรรมในตัวบุคคล หมายถึงการให้อภัย
ค. บอกถึงลักษณะนิสัยว่าเป็นคนประเภทเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ
ง. สามารถระงับเรื่องร้ายแรง หรือเรื่องที่นำความเดือนร้อนมาให้
22. ข้อใดเป็นข้อคิดจากการอ่านเรื่อง อะไรๆ ก็ไม่เป็นไร
ก. การใช้คำอยู่ที่เจตนาของผู้พูดว่าสร้างสรรค์หรือทำลาย
ข. มนุษย์มีกิเลสมุ่งประโยชน์ส่วนตัวมาก
ค. สังคมเป็นเช่นไรคนในสังคมก็เป็นเช่นนั้น
ง. การพูดไม่สำคัญเท่ากับการปฏิบัติ
23. นักเรียนเห็นด้วยกับความคิดของนักเขียนเรื่อง อะไรๆก็ไม่เป็นไร หรือไม่
ก. เห็นด้วย เพราะทำให้ทุกคนเป็นมิตร ลดความขุ่นข้องหมองใจ
ข. เห็นด้วย เพราะทำให้สังคมน่าอยู่ มีการให้และการรับที่มีค่า
ค. ไม่เห็นด้วย เพราะทำให้ความเจริญก้าวหน้าของสังคมสะดุด ไม่ก้าวหน้า
ง. ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการสอนให้คนเฉื่อยชา ไม่มีแก่นสารในชีวิต
24. สาระสำคัญของเรื่อง อะไรๆก็ไม่เป็นไร คือข้อใด
ก. ความคิดของชาวต่างชาติปละคนไทยแตกต่างกัน
ข. การใช้คำอยู่ที่เจตนาและความคิด
ค. การใช้คำในสถานการณ์ที่แตกต่างกันมีผลทั้งในทางดีและไม่ดี ขึ้นอยู่กับผู้ใช้
ง. ผู้ที่มีความสุข จิตใจผ่องแผ้ว คือคนที่มักใช้คำนี้เสมอๆ
25. เรื่องอะไรๆก็ไม่เป็นไร จัดเป็นสารประเภทใด
ก. ให้ความรู้ ข. จรรโลงใจ ค. ให้ความบันเทิง ง. โน้มน้าวใจ
26. บทพระราชนิพนธ์จากเรื่องความรักใดควรใฝ่หานั้น เป็นเพลงชื่อว่าอะไร
ก. เพลงพระราชนิพนธ์ ดุจบิดามารดร ข. เพลงพระราชนิพนธ์ รักชาติ
ค. เพลงพระราชนิพนธ์สยามอันบ้านเกิด ง. เพลงพระราชนิพนธ์ ความรัก
27. ใครสมควรเป็นผู้ที่ปกป้องประเทศชาติ
ก. ตำรวจ ข. ทหาร ค. รัฐบาล ง. พวกเราทุกคน
28. รักชาติยอมสละแม้ ชีวี
รักเกียรติจงเจตน์พลี ชีพได้
...................................... .........
รักศาสน์ราญเศิกไส้ เพื่อเกื้อพระศาสนาฯ
ควรเติมข้อความใดลงในช่องว่างเพื่อให้เป็นคำประพันธ์ที่สมบูรณ์
ก. อันสยามเป็นบ้านเกิด เมืองนอน ข. รักราชมุ่งภักดี รองบาท
ค. ยามศึกทุกข์ยากไร้ ปลาตเร้นฤๅควร ง. ดุจบิดามารดร เปรียบได้
29. ข้อใดเป็นประโยคซับซ้อน
ก. เธอจะไปเที่ยวเชียงรายหรือ
ข. นักเรียนจะเลือกเรียนสายวิทย์หรือสายศิลป์
ค. ถ้าเธอเตรียมสอบมากกว่านี้เธอจะได้คะแนนดีมาก
ง. คนไทยควรสนับสนุนสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ
30. ข้อใดไม่ใช่ประโยคซับซ้อน
ก. ความเห็นอกเห็นใจในยามยากแสดงถึงความเป็นเพื่อน
ข. ฉันจะทำการบ้าน ดูโทรทัศน์แล้วก็จะนอน
ค. การซื้อสินค้าจากต่างประเทศทำให้เกิดภาวะ การขาดดุลการค้า
ง. การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเราเป็นเรื่องดีอย่างหนึ่ง
กระดาษคำตอบ
ข้อ ก ข ค ง ข้อ ก ข ค ง ข้อ ก ข ค ง
1 11 21
2 12 22
3 13 23
4 14 24
5 15 25
6 16 26
7 17 27
8 18 28
9 19 29
10 20 30
ตอนที่ 2 : ให้นักเรียนเติมคำลงในช่องว่างให้ถูกต้อง 10 คะแนน
พระโฉมยงองค์อภัยมณีนาถ เพลินประพาส.......พิศดู........หมู่มัจฉา
เหล่าฉลามล้วนฉลามตามกันมา ค่อยเคลื่อนคลา....คล้ายคล้าย...ในสายชล
ฉนากอยู่คู่ฉนากไม่จากคู่ ขึ้นฟ่องฟูพ่นฟองละอองฝน
ฝูง...พิมพา............พาฝูงเข้าแฝงวน บ้าง...ผุดพ่น......ฟองน้ำบ้างดำจร
กระโห้เรียงเคียงกระโห้ขึ้นโบกหาง ...ลอยสล้าง...........กลางกระแสแลสลอน
มังกรเกี่ยวเลี้ยวลอดกอดมังกร ประชุมซ่อนแฝงชลขึ้นวนเวียน
ฝูงม้าน้ำทำท่าเหมือน...ม้าเผ่น...... ขึ้นลอยเล่นเลี้ยวลัดฉวัดเฉวียน
ตะเพียนทองท่องน้ำนำตะเพียน ...ดาษเดียร...ดูเพลินจนเกินมา
เห็น...ละเมาะ...เกาะเขาเขียวชอุ่ม โขดตะคุ่มเคียงเคียงเรียงรุกขา
จะเหลียวซ้ายสายสมุทรสุดสายตา จะแลขวาควันคลุ้มกลุ้มโพยม
จะเหลียวดู...สุริย์...แสงเข้าแฝงเมฆ ให้วิเวกหวาดองค์พระทรงโฉม
ฟังสำเนียงเสียงคลื่นดังครื้นโครม ยิ่งทุกข์...โทมนัส...ในฤทัยทวี
ภาคผนวก ค
การเผยแพร่ผลงาน
ภาคผนวก ง
ประวัติผู้รายงาน
ประวัติผู้รายงาน
ชื่อ สกุล
ชื่อ นายวิสิทธิ์ นามสกุล มากะเต
วันเดือนปีเกิด
วันที่ 16 เดือน มกราคม พ.ศ. 2527
สถานที่เกิด
บ้านเลขที่ 32 หมู่ที่ 2 ตำบล บ้านไทร อำเภอ ประโคนชัย จังหวัด บุรีรัมย์
ที่อยู่ปัจจุบัน
44 หมู่ 2 ตำบลโคกตะเคียน อำเภอกาบเชิง จังหวัด สุรินทร์
สถานที่ทำงาน
โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา 44 หมู่ 2 ตำบลโคกตะเคียน อำเภอกาบเชิง จังหวัด สุรินทร์ ตำแหน่งปัจจุบัน
ครูผู้ช่วย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา
ติดต่อประสานงาน
โทร. 097 3348252 , 086 2890184
ประวัติการศึกษา
1. ประถมศึกษา โรงเรียนวัดบ้านไทร (เสคุราษฎร์อนุสรณ์) (2540)
2. มัธยมศึกษา โรงเรียนปริยัติธีรวิทยา (2540 2546)
3. ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขต นครราชสีมา (2551)