ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด โดยการใช้แบบฝึกทักษะ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย ปารดา ฤกษ์ศรี
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด โดยการใช้แบบฝึกทักษะ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด โดยการใช้แบบฝึกทักษะ และการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 1 3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด โดยการใช้แบบฝึกทักษะ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด โดยการใช้แบบฝึกทักษะ และการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 9 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 27 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD
เรื่อง การอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด ประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า t (t-test แบบ Dependent Sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด โดยการใช้แบบฝึกทักษะ และการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.37 / 88.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. นักเรียนที่เรียนด้วยการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด โดยการใช้แบบฝึกทักษะ และการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด โดยการใช้แบบฝึกทักษะ และการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.6756 หรือคิดเป็นร้อยละ 67.56
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด และการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด