ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่องการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านสาคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
นราธิวาส เขต ๑
ผู้ศึกษา นางซอบารีย๊ะ ปาโอะมานิ๊
ตำแหน่ง ครู โรงเรียนบ้านสาคร สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต ๑
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อพัฒนาชุดฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่องการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านสาคร ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่องการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านสาคร และ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่องการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านสาคร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ๒ โรงเรียนบ้านสาคร สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต ๑ ในภาคเรียนที่ ๒ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๒๔ คน ที่ผู้รายงานเป็นครูประจำชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ๑) ชุดฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่องการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๔ ชุด ๒) แผนการจัด การเรียนรู้เรื่องการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๒๒ แผน ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน ๓๐ ข้อ และ ๔) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่องการเขียนคำควบกล้ำ จำนวน ๑๐ ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติคือ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่า
๑) ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) มีค่าเท่ากับ ๘๓.๒๖ และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) มีค่าเท่ากับ ๘๕.๐๓ ดังนั้น ประสิทธิภาพของชุดฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่องการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านสาคร ค่าเท่ากับ ๘๓.๒๖ / ๘๓.๖๑
๒) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่องการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านสาคร ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๑๑.๑๓ คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๐๘ ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๒๕.๐๘ คิดเป็นร้อยละ ๘๓.๖๑ โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเฉลี่ย ๑๓.๙๕ คิดเป็นร้อยละ ๔๖.๕๓
๓) ระดับความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่องการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านสาคร เฉลี่ยโดยส่วนรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๖๓ คิดเป็นร้อยละ ๙๒.๕๐
ข้อเสนอแนะ
๑) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ควรนำชุดฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่องการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ไปประยุกต์ใช้สำหรับเสริมทักษะภาษาไทยเรื่องการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพราะจากผลการศึกษายืนยันได้ถึงความสำเร็จในการนำไปใช้แล้ว คือ การมีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๓.๒๖ /๘๓.๖๑ สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ให้สูงขึ้นได้ และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
๒) จากการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนพบว่าการนำแบบฝึกเสริมทักษะไปประยุกต์ใช้ในวิชาอื่นๆ มีระดับความพึงพอใจต่ำสุด ซึ่งอาจอธิบายได้ว่า นักเรียนอยากให้ครูทำชุดฝึกเสริมทักษะในเรื่องอื่นๆด้วย ดังนั้นครูผู้สอนจะต้องนำชุดฝึกไปประยุกต์ใช้กับเรื่องอื่นๆ เพื่อให้นักเรียนมีความสนใจ ทำงานอย่างมีความสุขและเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น