ชื่อผลงาน การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง คำราชาศัพท์และคำสุภาพ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้วิจัย สุคนธ์ทิพย์ คงทอง
หน่วยงานที่สังกัด โรงเรียนบ้านควนเคี่ยม อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง คำราชาศัพท์และคำสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่อง คำราชาศัพท์และคำสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง คำราชาศัพท์และคำสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง คำราชาศัพท์และคำสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านควนเคี่ยม อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 15 คน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านควนเคี่ยม อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากโรงเรียนบ้านควนเคี่ยม เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เพียงห้องเรียนเดียวและผู้วิจัยเป็นผู้สอนนักเรียนในระดับชั้นนั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะ เรื่อง คำราชาศัพท์และคำสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) แผนการจัด การเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง คำราชาศัพท์และคำสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง คำราชาศัพท์และคำสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบทดสอบชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนโดยแบบฝึกทักษะ เรื่อง คำราชาศัพท์และคำสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูล 1) หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่อง คำราชาศัพท์และคำสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 โดยใช้สถิติร้อยละของคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (E1/E2) 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง คำราชาศัพท์และคำสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ Paired -Samples t-test และ 3) การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง คำราชาศัพท์และคำสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (μ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และค่าสัมประสิทธิ์ของความเชื่อมั่น (Cronbach’s coefficient of alpha) ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่อง คำราชาศัพท์และคำสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 83.31/82.44 ตามเกณฑ์ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง คำราชาศัพท์และคำสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง คำราชาศัพท์และคำสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด