บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนพานพิทยาคม
อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ปีงบประมาณ 2559
ผู้รายงาน : ว่าที่ร้อยตรีธีระวัฒน์ คำชุ่ม รองผู้อำนวยการโรงเรียนพานพิทยาคม
ปีการศึกษา 2559
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนพานพิทยาคม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ปีงบประมาณ 2559 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนพานพิทยาคม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ปีงบประมาณ 2559 ประชากรที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนพาน-พิทยาคม รวมทั้งสิ้น 3,932 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย แบบสอบถามเพื่อประเมินด้านบริบท ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการ ผลผลิต และผลกระทบของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนพานพิทยาคม ปีงบประมาณ 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แปลผลจัดอันดับ และนำเสนอในรูปแบบตารางประกอบการบรรยาย ซึ่งสามารถสรุปผลการประเมิน ได้ดังนี้
ผลประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนพาน-พิทยาคม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ปีงบประมาณ 2559 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาและคณะครู พบว่าภาพรวมมีความสอดคล้องและความเหมาะสมระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.19 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาแต่ละรายการพบว่า กิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความสอดคล้องและความเหมาะสม ระดับมากที่สุด รองลงมาคือ นำนโยบายการป้องกันสารเสพติดของโรงเรียนมาใช้เพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
มีความสอดคล้องและความเหมาะสม ระดับมาก
ผลประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนพานพิทยาคม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ปีงบประมาณ 2559 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาและคณะครู พบว่าภาพรวมมีความเหมาะสม ระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.23 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาแต่ละปัจจัย พบว่า ปัจจัยด้านบุคลากร ภาพรวมมีความเหมาะสม ระดับมาก โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ผู้บริหารเป็นผู้นำในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปัจจัยด้านงบประมาณ ภาพรวมมีความเหมาะสมระดับมาก โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การจัดสรรงบประมาณในแต่ละกิจกรรมมีความเหมาะสม ปัจจัยด้านวัสดุอุปกรณ์ ภาพรวมมีความเหมาะสม ระดับมาก โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ครุภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ในการใช้ปฏิบัติงานกิจกรรมมีคุณภาพ และมีการซ่อมแซม ครุภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์เพื่อใช้ในกิจกรรมด้วยความรวดเร็ว ปัจจัยด้านบริหารจัดการภาพรวม มีความเหมาะสมระดับมาก โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ผู้บริหารโรงเรียนมีความมุ่งมั่นในความสำเร็จของโครงการ
ผลประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนพานพิทยาคม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ปีงบประมาณ 2559 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาและคณะครู พบว่าภาพรวมมีการปฏิบัติในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.49 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาแต่ละกระบวนการ พบว่า การวางแผนการดำเนินโครงการ ( P=Plan ) ภาพรวมมีการปฏิบัติในระดับมาก โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีการคัดสรรและแต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ (D = Do) ภาพรวมมีการปฏิบัติในระดับมาก โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือมีเครือข่ายการส่งต่อภายในและภายนอกโรงเรียน การตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน ( C=Check ) การนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล รายงานผล และพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ภาพรวมมีการปฏิบัติในระดับมาก โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีการเสริมสร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติกิจกรรมสม่ำเสมอ การประเมินผล ปรับปรุง/แก้ไข การดำเนินโครงการ (A=Action) ภาพรวมมีการปฏิบัติในระดับมาก โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีการสรุปผลการประเมินและนำมาปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ผลประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนพาน-พิทยาคม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ปีงบประมาณ 2559 ตามความคิดเห็นของ คณะครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน พบว่าภาพรวมมีความเหมาะสม ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.30 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนส่งผลให้สัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดี มีความเหมาะสม ระดับมากที่สุด รองลงมาคือระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ส่งผลให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีและมีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพสุจริต มีความเหมาะสม ระดับมาก ส่วนผลการประเมินทบทวนการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับดีมาก มีมาตรฐานคุณภาพตามมาตรฐานกลางที่กำหนด
ผลประเมินด้านผลกระทบ(Impact Evaluation) ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนพาน-พิทยาคม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ปีงบประมาณ 2559 ตามความคิดเห็นผู้ปกครองนักเรียน พบว่าภาพรวมมีความพึงพอใจ ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.18 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการสังเกตพฤติกรรมนักเรียน มีความพึงพอใจ ระดับมาก รองลงมาคือ การติดต่อสื่อสารประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนกับผู้ปกครอง นักเรียนที่มีบุคลิกภาพที่ดีสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ และผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการประสาน เชื่อมโยง กับหน่วยงานภายนอกมาร่วมดำเนินการระบบดูแลช่วยเหลือ มีความพึงพอใจ ระดับมาก ความคิดเห็นของนักเรียน พบว่าภาพรวมมีความพึงพอใจ ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.31 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า การจัดกิจกรรมเสริมในเรื่องการพัฒนาบุคลิกภาพนักเรียน มีความพึงพอใจ ระดับมาก รองลงมาคือ การติดต่อสื่อสารระหว่างครูกับผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจ ระดับมาก ส่วนผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร พบว่า ร้อยละของนักเรียนที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่มีระดับคุณภาพดีขึ้นไป ปีการศึกษา 2559 (ภาคเรียนที่ 1) มีค่ามากกว่า ปีการศึกษา 2558 แสดงให้เห็นว่า การดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนส่งผลให้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่มีระดับคุณภาพดีขึ้นไป มีจำนวนมากขึ้น