บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานการใช้คำคล้องจองประกอบการเรียนรู้ 5 ขั้น เพื่อพัฒนา
ทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1
โรงเรียนบ้านลาแล
ชื่อผู้รายงาน นางสาวรุ่งฤทัย จริงจิตต์
ปีการศึกษา 2559
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการใช้คำคล้องจองประกอบการเรียนรู้ 5 ขั้น ในการพัฒนาความสมารถด้านการฟังและการพูด ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 2) เพื่อเปรียบเทียบความสมารถทางภาษาด้านการฟังและการพูด ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านลาแล ระหว่างก่อนกับหลังการใช้คำคล้องจองประกอบการเรียนรู้ 5 ขั้น
จำนวน 27 คน โดยดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือแผนการจัดประสบการณ์การใช้คำคล้องจองประกอบการเรียนรู้ 5 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด จำนวน 24 แผน แบบประเมินพัฒนาการความสามารถด้านการฟังและการพูด แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อ
การใช้คำคลองจองประกอบการเรียนรู้ 5 ขั้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ
ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการหาประสิทธิภาพของการใช้คำคล้องจองประกอบการเรียนรู้ 5 ขั้น ในการพัฒนาความสมารถด้านการฟังและการพูด ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การใช้คำคล้องจองประกอบการเรียนรู้
5 ขั้น ปรากฏว่า หลังการจัดประสบการณ์การใช้คำคล้องจองประกอบการเรียนรู้ 5 ขั้น สูงขึ้นกว่าก่อนจัดประสบการณ์อย่างเห็นได้ชัดเจน 2) ผลการศึกษาด้านความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์การใช้คำคล้องจองประกอบ
การเรียนรู้ 5 ขั้น ปรากฏว่า มีค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจโดยรวมทั้ง 8 สัปดาห์
ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก