ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาล ๑ (หนองแสง)
โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
ผู้วิจัย นายศิวาวุธ สระแก้ว
โรงเรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (หนองแสง) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองนครพนม
จังหวัดนครพนม
ปีที่วิจัย 2559
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาล ๑ (หนองแสง) โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนเทศบาล ๑ (หนองแสง) โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในด้านต่างๆ ดังนี้ (1) ปัจจัยพื้นฐานด้านบริบทของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (Context) (2) ปัจจัยนำเข้าในการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (Input) (3) กระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (Process) และ (4) ผลผลิตของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (Product) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบโครงการ นักเรียน ผู้ปกครองและกรรมการสถานศึกษา รวมทั้งสิ้นจำนวน 618 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนเทศบาล ๑ (หนองแสง) โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านปรากฏผลดังนี้
1.1 ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนเทศบาล ๑ (หนองแสง) โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านบริบท
1.1.1 ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนเทศบาล ๑ (หนองแสง) โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านบริบท ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบโครงการ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน รองลงมา คือ วัตถุประสงค์ของโครงการนำไปสู่การปฏิบัติได้ และวัตถุประสงค์ของโครงการครอบคลุมภารกิจที่กำหนด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพสร้างนิสัยการรักษาสุขภาพแก่นักเรียน ครู และชุมชน
1.2 ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนเทศบาล ๑ (หนองแสง) โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านปัจจัยนำเข้า
1.2.1 ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนเทศบาล ๑ (หนองแสง) โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบโครงการ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการจัดกิจกรรมอาหารกลางวันมีเพียงพอ รองลงมา คือ มีงบประมาณจัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ได้ครบตามต้องการ และมีงบประมาณซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ได้ทันตามกำหนด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ งบประมาณการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมีเพียงพอ
1.3 ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนเทศบาล ๑ (หนองแสง) โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านกระบวนการ
1.3.1 ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนเทศบาล ๑ (หนองแสง) โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบโครงการ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ระยะเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมตามแผนมีความเหมาะสม รองลงมา คือ แผนปฏิบัติการโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมีความยืดหยุ่น และแผนปฏิบัติการโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมีความชัดเจน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ บุคลากร นักเรียน และชุมชน มีส่วนร่วมวางแผนปฏิบัติการโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และ การปฏิบัติงานโครงการเป็นไปด้วยความสม่ำเสมอตามขั้นตอน
1.3.2 ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนเทศบาล ๑ (หนองแสง) โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โรงเรียนมีการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ รองลงมา คือ ความสะดวกในการให้บริการห้องพยาบาล และโรงเรียนมีการจัดเนื้อหาวิชาที่เรียนตรงกับความต้องการของผู้เรียน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียนการสอน
1.3.3 ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนเทศบาล ๑ (หนองแสง) โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านกระบวนการเกี่ยวกับการให้บริการและเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองและกรรมการสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การจัดบริเวณโรงเรียนสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจแก่ประชาชนในชุมชน รองลงมา คือ การเข้าร่วมกิจกรรมด้านสุขภาพที่จัดขึ้นในชุมชน และการให้บริการความรู้ด้านสุขภาพแก่ชุมชน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การจัดกิจกรรมให้นักเรียนบริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนในชุมชน
1.3.4 ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนเทศบาล ๑ (หนองแสง) โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านกระบวนการเกี่ยวกับการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การเปิดโอกาสให้ชุมชนเสนอแนะแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนในการส่งเสริมสุขภาพ รองลงมา คือ การเชิญบุคคลในชุมชนที่มีความรู้ความสามารถมาเป็นวิทยากรในโรงเรียน และการเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับสุขภาพที่โรงเรียนจัดขึ้น ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การขอความช่วยเหลือด้านแรงงานจากชุมชน
1.4 ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนเทศบาล ๑ (หนองแสง) โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านผลผลิต
1.4.1 ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนเทศบาล ๑ (หนองแสง) โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบโครงการ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนมีสุขภาพแข็งแรง รองลงมา คือ โรงเรียนได้มีการเผยแพร่ความรู้เรื่องสารเสพติดในโรงเรียน และนักเรียนได้รับการบริการดูแลความสะอาดของร่างกาย ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ครู นักเรียน และผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมบริการอาหารกลางวัน
1.4.2 ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนเทศบาล ๑ (หนองแสง) โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ นักเรียนมีความรู้ในการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าถูกหลักโภชนาการและความปลอดภัย รองลงมา คือ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบรรยากาศภายในโรงเรียน และโรงเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มีกิจกรรมป้องกันอุบัติเหตุจากสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
1.4.3 ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนเทศบาล ๑ (หนองแสง) โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด บุตรหลานของท่านมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพเบื้องต้น รองลงมา คือ บุตรหลานของท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเสพติด และมีการควบคุมป้องกันโรคต่างๆ อย่างถูกต้องในชุมชน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มีการจัดกิจกรรมควบคุมป้องกันสารเสพติดในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ