ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
ในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น
ผู้วิจัย นางสุพัตรา ตาลดี
ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่นจังหวัดขอนแก่น
ปีที่พิมพ์ 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการนิเทศการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) มีวัตถุประสงคเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพและข้อมูลพื้นฐานของการนิเทศการศึกษาและการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) ของผู้บริหารในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น 2) เพื่อสร้างรูปแบบการนิเทศการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการนิเทศการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) 4) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศการบริหารจัดกรโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) 4.1) ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการนิเทศการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) และ 4.2) ครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 34 คน ครูผู้สอน 8 กลุ่มสาระ จากโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น จำนวน 11 โรงเรียน จำนวน 88 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถามความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 2) แบบสอบถามเรื่อง การนิเทศภายในโรงเรียนในสถานศึกษาของเทศบาลนครขอนแก่น 3) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการนิเทศการสอน 4) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) 5) แบบประเมินความสามารถในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) และ 6) แบบสอบถามประกอบการสนทนากลุ่ม (Focus Group Questionnaire) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t-test การพัฒนารูปแบบมีวิธีดำเนินการ 4 ระยะคือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหา ระยะที่ 2 การยกร่างและการพัฒนารูปแบบ ระยะที่ 3 การทดลองใช้การพัฒนารูปแบบ และระยะที่ 4 ผลการใช้รูปแบบ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหา
ผลจากการศึกษาสภาพ บริบทและข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการนิเทศภายในสถานศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น พบว่าภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.32) เมื่อพิจารณาข้อคำถามรายข้อ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้น 1) บริการและอำนวยความสะดวกแก่ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศในทุก ๆ ด้าน 2) จัดให้มีการสำรวจปัญหาและอุปสรรคในการเรียนการสอนของครู 3) จัดให้คณะครูทุกคนมีส่วนร่วมในการคิดหาวิธีแก้ปัญหาและกำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหา และ 4) มีการติดตามดำเนินการเพื่อตรวจตราการปฏิบัติงานและหาข้อบกพร่อง มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากและจากการแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนิเทศภายใน พบว่า 1) กระบวนการนิเทศภายในโรงเรียน โดยส่วนใหญ่การดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอน แต่กระบวนการยังขาดการประสานงานและการนัดหมายจากบุคลากรในสถานศึกษา ซึ่งการนิเทศควรเป็นการกำกับ ติดตามการปฏิบัติ การนิเทศภายในควรให้มีความต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ควรมีกิจกรรมที่ส่งเสริมกิจกรรมด้านการเรียนรู้แบบบูรณาการพร้อมทั้งการเยี่ยมชั้นเรียน และการสังเกตการสอน2) ปัญหาอุปสรรคและวิธีการแก้ไขในการนิเทศภายในโรงเรียน พบว่า ยังไม่การสร้างความเข้าใจในการนิเทศ ขาดการประชุมเชิงปฏิบัติการในการอบรม สัมมนาให้ความรู้เพื่อฝึกทักษะผู้นิเทศ ตามสาขาวิชาต่างๆ หรือแนวปฏิบัติที่ดีในการปฏิบัติด้านการจัดการเรียนการสอน ระบบการนิเทศภายในของโรงเรียนไม่เป็นระบบ ขาดการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการของคณะครูในการนิเทศครูผู้ปฏิบัติการนิเทศภายในไม่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องนิเทศภายในขาดความมั่นใจ ทำให้การดำเนินการนิเทศไม่เป็นระบบไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ขาดการวางแผนการนิเทศร่วมกันระหว่างผู้บริหารและคณะครู เครื่องมือการนิเทศไม่ได้รับการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ ไม่ได้กำหนดเครื่องมือวัดผลการปฏิบัติงานไม่มีการรายงานผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนางาน ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนอยู่ ในเกณฑ์ที่ ไม่น่าพอใจ 3) การพัฒนากระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพส่งผลต่อ การพัฒนานักเรียน ควรมีการจัดระบบการนิเทศภายในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง และดำเนินการอย่างจริงจังเพราะจะทำให้ครูมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานมากขึ้น และควรมีการวางแผนและกำหนดทางเลือก โดยการประชุมปฏิบัติการเกี่ยวกับกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียน เพื่อให้บุคลากรทุกคนเข้าใจระบบ และ 4) จัดให้มีการสำรวจปัญหาและอุปสรรคในการเรียนการสอนของครู ทุกปีการศึกษาหรือทุกภาคการศึกษา สถานศึกษาควรมีการสำรวจ พร้อมทั้งวิเคราะห์สภาพปัญหาเพื่อหาแนวทางการแก้ไขระบบการนิเทศให้มีประสิทธิภาพและมีความต่อเนื่อง และดำเนินการอย่างจริงจัง เพราะสภาพความเป็นจริงกับปัญหาที่ประสบอยู่ การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนไม่สะท้อนข้อมูลที่เป็นจริง การวางแผนการนิเทศไม่สามารถปฏิบัติตามแผนได้ทุกขั้นตอน เพราะมีข้อจำกัดหลายๆประการ ผู้รับการนิเทศบางคนไม่ยอมรับฟังข้อเสนอแนะของผู้รับการนิเทศทำให้ผู้รับการนิเทศขาดความมั่นใจ หลังการนิเทศภายในไม่ได้นำเอาผลการประเมิน ผลการนิเทศไปรายงานให้คณะครูทราบ และไม่นำผลมาปรับปรุง และพัฒนาการทำงาน
2. ระยะที่ 2 การยกร่างและการพัฒนารูปแบบ
รูปแบบการนิเทศการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) มีองค์ประกอบที่ประกอบด้วยหลักการ วัตถุประสงค์และกระบวนการนิเทศการสอน และการนำรูปแบบไปใช้ เป็นกระบวนการเชิงระบบที่มีความสัมพันธ์กันขององค์ประกอบต่างๆ ในการนิเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน 6 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1.การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นและกำหนดประเด็นการพัฒนา (Analyzing Needs and Deciding Focus: A) ระยะที่ 2.การเตรียมการด้านความรูและทักษะการปฏิบัติการนิเทศ (Preparing Knowledge and Skills for Coaching: P) ระยะที่ 3.การร่วมมือกันวางแผนและกำหนดวัตถุประสงค์ของการพัฒนา(Collaborative Planning and Setting Objective: C) ระยะที่ 4.การปฏิบัติการนิเทศ (Coaching: C) ซึ่งประกอบด้วย 1) ทบทวนแผนการนิเทศและสร้างความเขาใจรวมกัน (Review Action Plan and Reflection) 2) การสังเกตการสอนในชั้นเรียนซึ่งกันและกัน (Observation) 3) การวิเคราะหขอมูล (Data Analysis) 4) การไตรตรองสะทอนคิดและใหขอมูลยอนกลับ (Reflection and Feedback) ระยะที่ 5.การทบทวนไตรตรองสะทอนคิดและสรุปผล (Reflective Reviewing and Conclusions: R) และ ระยะที่ 6.การประเมินผลการใชรูปแบบการนิเทศรวมกัน (Collaborative Evaluation of Coaching Model Implementation: E) โดยผูวิจัยจะเปนผูดูแลใหคําปรึกษาและแนะนําชวยเหลือ (Mentoring) เพื่อใหการดําเนินการนิเทศเกิดประสิทธิภาพ
3. ระยะที่ 3 การทดลองใช้การพัฒนารูปแบบ
ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) พบว่า ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจในการนิเทศการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) เพิ่มขึ้นหลังจากการได้รับการอบรมความรู้เรื่องการนิเทศการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า รูปแบบการนิเทศการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) ทำให้ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศเพิ่มขึ้น
4 ระยะที่ 4 ผลการใช้รูปแบบ
ผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) ทั้ง 3 ด้าน พบว่า 1) ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศระหว่างก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) อยู่ในระดับมาก 3) ครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก