บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายการวิจัย คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของ ชุดการสอน
การเรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 80/80
2) เพื่อทดลองใช้ชุดการสอนวิทยาศาสตร์โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 โดยการ 2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กับเกณฑ์ร้อยละ 80 2.2) ศึกษาพฤติกรรมการทำงานร่วมกันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุด การสอนวิทยาศาสตร์โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
วิธีดำเนินการศึกษาได้ดำเนินการตามกระบวนการวิจัยและการพัฒนาซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงาน
3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและการหาประสิทธิภาพของชุดการสอนวิทยาศาสตร์โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยศึกษาหลักสูตรและเอกสารที่เกี่ยวข้อง จัดทำชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ จากนั้นให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสม แล้วนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ใช้กับนักเรียนจำนวน 6 คน
ครั้งที่ 2 จำนวน 15 คน เพื่อหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าดัชนี ความเหมาะสม ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้ของชุดการสอนวิทยาศาสตร์โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านซำเบ็ง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 4 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเขวา (ราษฎร์พัฒนา)
อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 16 คน รวมนักเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดการสอนวิทยาศาสตร์โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ จำนวน 10 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานร่วมกันของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t (t test One Sample) ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการสอนวิทยาศาสตร์โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านซำเบ็ง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 4 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเขวา (ราษฎร์พัฒนา) อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 16 คน รวมนักเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถาม ความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย
กกกกกผลการศึกษาในครั้งนี้พบว่า 1) การหาประสิทธิภาพของชุดการสอนวิทยาศาสตร์โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะของมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า ชุดการสอนวิทยาศาสตร์มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.75/86.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) จากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและคะแนนทดสอบหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ ผู้เรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการสอนวิทยาศาสตร์โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะของมนุษย์ พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดการสอนวิทยาศาสตร์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.56, S.D.= 0.12)