บทคัดย่อ
หัวข้อวิจัย การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา
ตัวสะกดในบทเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3,
พ.ศ. 2560
ผู้วิจัย นางสาวมานิตา แสงงาม
ตำแหน่ง ครูชำนาญการโรงเรียนบ้านโคกใหญ่
ที่ปรึกษา นายสุระพงษ์ นามจำปา
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดในบทเรียนสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80 / 80 เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนหลังใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดในบทเรียนสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดในบทเรียนสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านโคกใหญ่ อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลมี 3 ชนิด คือ 1) ชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดในบทเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 10 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่องชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดในบทเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน และ หลังเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบบปรนัยเลือกตอบ มี 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดในบทเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ E1 / E2 = 86.34 / 87.13 ถือว่าชุดฝึกทักษะมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดในบทเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.6150 ซึ่งแสดงว่า เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนบ้านโคกใหญ่ มีความก้าวหน้าทางการการอ่านและการเขียนคำที่สะกดที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดในบทเรียนเพิ่มขึ้นจากเดิม คิดเป็นร้อยละ 61.50
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนบ้านโคกใหญ่ ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดในบทเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01