การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความแตกต่างและการเปลี่ยนแปลงการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย โดยเฉลี่ยรวมก่อนจัดกิจกรรมและระหว่างจัดกิจกรรมโดยใช้เส้นเชือกในแต่ละช่วงสัปดาห์ 2) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ก่อนและหลังทดลองจัดกิจกรรมโดยใช้เส้นเชือก ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ชาย- หญิง อายุ 4 5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียน สุพรรณภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 มีนักเรียนทั้งหมด 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการในการศึกษาประกอบด้วย 1) คู่มือการจัดกิจกรรมโดยใช้เส้นเชือกเพื่อพัฒนา กล้ามเนื้อเล็ก สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีแผนการจัดกิจกรรมจำนวน 36 แผน 2) แบบประเมินเชิงปฏิบัติพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 3)แบบสังเกตการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติพื้นฐาน หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และสถิติ t test แบบ Dependent ผลการทดลองพบว่า เมื่อนำคู่มือการจัดกิจกรรมโดยใช้เส้นเชือกเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อเล็กทั้งหมด 36 แผน นำผลคะแนนการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ก่อนจัดกิจกรรม และระหว่างการจัดกิจกรรม ในแต่ละช่วงสัปดาห์ มาเปรียบเทียบเพื่อหาความก้าวหน้า ปรากฏว่า คะแนนการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีแนวโน้มสูงขึ้น
การเปลี่ยนแปลงการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 ของสัปดาห์ก่อนทดลอง และแต่ละช่วงสัปดาห์ สรุปผลดังนี้
สัปดาห์ที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากก่อนจัดกิจกรรมโดยใช้เส้นเชือก เท่ากับ 0.22 คะแนนไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 ( t = 2.28)
สัปดาห์ที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากการจัดกิจกรรมโดยใช้เส้นเชือก ในสัปดาห์ ที่ 1 เท่ากับ 0.44 คะแนนมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 ( t = 4.00)
สัปดาห์ที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากการจัดกิจกรรมโดยใช้เส้นเชือก ในสัปดาห์ ที่ 2 เท่ากับ 0.48 คะแนนมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 ( t = 4.09)
สัปดาห์ที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากการจัดกิจกรรมโดยใช้เส้นเชือก ในสัปดาห์ ที่ 3 เท่ากับ 0.50 คะแนนมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 ( t = 5.28)
สัปดาห์ที่ 5 มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากการจัดกิจกรรมโดยใช้เส้นเชือก ในสัปดาห์ ที่ 4 เท่ากับ 0.77 คะแนนมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 ( t = 3.85)
สัปดาห์ที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากการจัดกิจกรรมโดยใช้เส้นเชือก ในสัปดาห์ ที่ 5 เท่ากับ 0.59 คะแนนมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 ( t = 5.39)
สัปดาห์ที่ 7 มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากการจัดกิจกรรมโดยใช้เส้นเชือก ในสัปดาห์ ที่ 6เท่ากับ 0.63 คะแนนมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 ( t = 6.38)
สัปดาห์ที่ 8 มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากการจัดกิจกรรมโดยใช้เส้นเชือก ในสัปดาห์ ที่ 7 เท่ากับ 0.51 คะแนนมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 ( t = 5.28)
สัปดาห์ที่ 9 มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากการจัดกิจกรรมโดยใช้เส้นเชือก ในสัปดาห์ ที่ 8 เท่ากับ 0.52 คะแนนมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 ( t = 5.70)
สัปดาห์ที่ 10 มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากการจัดกิจกรรมโดยใช้เส้นเชือก ในสัปดาห์ ที่ 9 เท่ากับ 0.48 คะแนนมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 ( t = 4.32)
สัปดาห์ที่ 11 มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากการจัดกิจกรรมโดยใช้เส้นเชือก ในสัปดาห์ ที่ 10 เท่ากับ 0.74 คะแนนมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 ( t = 5.10)
สัปดาห์ที่ 12 มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากการจัดกิจกรรมโดยใช้เส้นเชือก ในสัปดาห์ที่11 เท่ากับ 1.03 คะแนนมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 ( t = 8.31)
ผลการเปรียบเทียบคะแนนการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 ด้วยการจัดกิจกรรมโดยใช้เส้นเชือก ก่อนและหลังทดลอง พบว่าหลังจัดกิจกรรมโดยใช้เส้นเชือกเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีคะแนนความสามารถด้านกล้ามเนื้อเล็กสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรม
การศึกษาผลการจัดกิจกรรมโดยใช้เส้นเชือกเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อเล็กสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 พบว่าเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ก่อนจัดกิจกรรมและระหว่างจัดกิจกรรมแต่ละสัปดาห์มีการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กโดยเฉลี่ยรวม แตกต่างกัน ซึ่งบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และหลังจัดกิจกรรมโดยใช้เส้นเชือกเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีคะแนนการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรม แสดงให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมโดยใช้เส้นเชือกสามารถพัฒนา กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยให้สูงขึ้นได้