เรื่อง รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย ปิ่นทิพย์ พันธุ์บุญ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ปีที่วิจัย 2558
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดกิจกรรมแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนเทศบาล ๕ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 43 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster Random Samping) เนื่องจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกห้องเป็นนักเรียนที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน จัดชั้นเรียนโดยคละนักเรียนที่มีความสามารถทั้งเก่ง ปานกลางและอ่อนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 21 แผน 21 ชั่วโมง 2) ชุดกิจกรรมแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ จำนวน 5 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ จำนวน 40 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ( t-test แบบ Dependent Samples )
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.84/86.69 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด คือ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมแบบร่วมมือด้วยเทคนิค
จิกซอว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.49, S.D. = 0.49)