ผู้รายงาน นายฑีรพล หนูทา ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ โรงเรียนเทศบาล 4 วัดศรีบัวบาน
ปี 2558
บทคัดย่อ
การประเมินผลโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาล 4 วัดศรีบัวบาน สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ของโรงเรียนเทศบาล 4 วัดศรีบัวบาน สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ใช้รูปแบบ CIPP Model ของ D.L.Stufflebeam และเพื่อประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกรองนักเรียน และนักเรียนที่มีต่อโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาล 4 วัดศรีบัวบาน เป็นแนวทางเพื่อประเมินความก้าวหน้า ปัญหา และอุปสรรคของโครงการ กลุ่มตัวอย่างในการประเมินในครั้งนี้ ประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข คณะกรรมการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน รวมทั้งสิ้น รวมทั้งสิ้น 174 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการประเมิน ปีการศึกษา 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมี
2 ชนิด ได้แก่ แบบประเมินมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน
4 ฉบับ ฉบับที่ 1 แบบประเมินคณะครูและบุคลากรของโรงเรียน จำนวน 101 ข้อ ฉบับที่ 2 แบบประเมินผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข คณะกรรมการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 107 ข้อ ฉบับที่ 3 แบบประเมินผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 67 ข้อ ฉบับที่ 4 แบบประเมินนักเรียน จำนวน 62 ข้อ ฉบับที่ 5 แบบประเมินความพึงพอใจครูและบุคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครองและนักเรียน จำนวน 25 ข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 10 องค์ประกอบ ผ่านเกณฑ์ขั้นดีมาก ผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับทอง
2. จากการประเมินผลโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล 4 วัดศรีบัวบานสังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน สรุปผลการประเมิน ดังนี้
2.1 ด้านสภาวะแวดล้อม ประกอบด้วย การกำหนดนโยบายส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน การถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏิบัติ การจัดทำแผนโครงการส่งเสริมสุขภาพ การจัดองค์กร พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข คณะกรรมการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 ด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ งบประมาณ พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข คณะกรรมการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
2.3 ด้านกระบวนการดำเนินงาน ประกอบด้วย การประเมินเกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินโครงการดำเนินการจัดกิจกรรม การนิเทศ ติดตาม และประเมินผล พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข คณะกรรมการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
2.4 ด้านผลผลิต ประกอบด้วย ผลการดำเนินโครงการ ผลที่เกิดขึ้นต่อนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ด้านปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ
ด้านปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของครู และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชน และผู้ปกครองมีความคิดเห็นคล้ายกัน ดังนี้ ด้านสภาวะแวดล้อม ส่วนใหญ่ภาครัฐกำหนดนโยบายมาให้ บางครั้งยากต่อการปฏิบัติ และนโยบายถูกกำหนดไว้มาก ต้องพยายามปฏิบัติให้ครบตามที่กำหนด ด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ บุคลากรมีน้อย ในการดำเนินงานตามโครงการ และงบประมาณสนับสนุนไม่เพียงพอ ด้านกระบวนการ ได้แก่ ขาดการประสานงานระหว่างชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านผลผลิต โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพจะประสบผลสำเร็จได้ต้องมีการดำเนินการในระยะยาว ส่วนข้อเสนอแนะได้เสนอแนะว่า ควรมีการเพิ่มงบประมาณที่สนับสนุนในการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอและจังหวัดควรให้ความสำคัญการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอย่างจริงจัง และควรมีการจัดประชุมอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้คณะกรรมการและผู้ที่มีหน้าที่ส่วนเกี่ยวข้องเข้าใจตรงกัน ข้อสังเกตที่ค้นพบ บุคลากรในโรงเรียนมีความสนใจและกระตือรือร้นในการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมาก ด้านการส่งเสริมสุขภาพ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีการดำเนินงานและติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชนมากขึ้น และองค์การบริการส่วนตำบลได้สนับสนุนงบประมาณในการทำที่สำหรับแปรงฟันให้นักเรียน และโรงเรียนได้ให้ชุมชนยืมสถานที่ในการจัดกีฬาต่าง ๆ สภาพแวดล้อมของโรงเรียนสะอาดน่าอยู่ ร่มรื่น บุคลากรและชุมชน ร่วมกันระดมทรัพยากรในการจัดหา สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินการตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขให้ได้ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกรองนักเรียน และนักเรียนที่มีต่อโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาล 4 วัดศรีบัวบาน อยู่ในระดับมากที่สุด