ชื่อเรื่อง การวางแผนพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อคุณภาพ การจัดการศึกษาโรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง เทศบาลเมืองพังงา จังหวัดพังงา
ผู้วิจัย นางสาวภรพิศ มธุรส
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
ปีที่ทำวิจัย 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง 2) เพื่อวางแผนพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง 3) เพื่อใช้แผนพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง 4) เพื่อประเมินการใช้แผนพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง เป็นการวิจัยเชิง (R&D ) มีวิธีการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง โดยสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลมาสร้างแบบสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้อง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง เครซี่และมอร์แกน จำนวน 333 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน นำข้อมูลมาวิเคราะห์ และสัมภาษณ์ผู้บริหาร ครูผู้สอน เพื่อนำข้อมูลวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและภายในของการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง วิเคราะห์เนื้อโดยใช้ ตาราง TOWS Matrix โดยใช้ SWOT Analysis ขั้นตอนที่ 2 วางแผนพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษา โดยนำขั้นตอนที่ 1 มาจัดทำแผนพัฒนา และตรวจสอบความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของแผนโดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ ประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้โดยผู้เชี่ยวชาญ จานวน 5 คน ขั้นตอนที่ 3 นำแผนพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษาไปใช้ ขั้นตอนที่ 4 ประเมินการใช้แผนพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษา โดยประเมินการใช้แผน เก็บรวบรวมข้อมูลจาก ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน รวมทั้งสิ้น 15 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหาและการแจกแจงความถี่ ผู้วิจัยร่างแผนจากตาราง TOWS Matrix โดยใช้ SWOT Analysis
ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษา
โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง สภาพการบริหารงานวิชาการทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยี การวัดผล ประเมินผลและเทียบโอน การนิเทศการศึกษา การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ การประกันคุณภาพภายในและมาตรฐาน และการส่งเสริมความเข้มแข็งทางวิชาการ อยู่ในระดับมาก และปัญหาอยู่ในระดับน้อย ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอกและภายในของการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง เป็นโอกาส คือ โรงเรียนได้รับการสนับสนุนและงบประมาณจากต้นสังกัด บุคลากรได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นภาวะคุกคาม คือ ปัญหาของครอบครัวนักเรียนและยังขาดความร่วมมือจากเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง สำหรับสภาพแวดล้อมภายในที่เป็นจุดแข็ง คือ ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ มีวิสัยทัศน์ และมีความสามารถในการบริหารจัดการงานวิชาการและสภาพแวดล้อมภายในที่เป็นจุดอ่อนคือ นักเรียนขาดความสนใจเนื่องจากปัญหาของครัว ขาดครู ขาดวัสดุ สื่ออุปกรณ์ ขาดการนิเทศ
2) แผนพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และจัดทำแผนพัฒนาร่วมกัน มียุทธศาสตร์การพัฒนา ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) พัฒนาเครือข่ายการจัดการศึกษาเน้นการมีส่วนร่วม (2) พัฒนาคุณภาพผู้เรียน (3) พัฒนาคุณภาพครูสู่มืออาชีพ (4) พัฒนาจัดระบบการบริหารงานวิชาการให้มีคุณภาพ มีการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
3) ผลการทดลองใช้แผนพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อคุณภาพการจัด
การศึกษาโรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง พบว่า ได้นำแผนสู่การปฏิบัติ ดำเนินการเพื่อให้เกิดผลตาม วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ยุทธศาสตร์ 4 ยุทธศาสตร์ มีโครงการทั้งสิ้น 20 โครงการ ดำเนินงานตามโครงการเสร็จสิ้นในหนึ่งปีการศึกษา ไปใช้ ในขอบข่ายการบริหารงานวิชาการอย่างครอบคลุม ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามขั้นตอน มีการวางแผนการบริหารงานวิชาการ มีการ ติดตาม นิเทศ ตรวจสอบ ประเมินผล รายงานผล และนำผลการประเมินไปใช้ ทำให้การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เป็นไปอย่างเป็นระบบ และมีคุณภาพ
4) ผลการประเมินการใช้แผนพัฒนาการบริหารงานวิชาการพบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก