การประเมินโครงการการบริหารจัดการและการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์ของ การประเมินโครงการ เพื่อประเมินโครงการการบริหารจัดการและการเรียนรู้ตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ด้านสภาพแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) และ เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการการบริหารจัดการและการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
กลุ่มตัวอย่างในการประเมินโครงการครั้งนี้ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ดังนี้ 1) กลุ่มตัวอย่างในการประเมินโครงการการบริหารจัดการและการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ด้านสภาพแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) และด้านกระบวนการ (Process) จำนวน 100 คน ประกอบด้วย ผู้ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม หัวหน้าฝ่าย ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา บุคลากรทางการศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียนและรองผู้อำนวยการโรงเรียนรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และครูผู้สอนที่เกี่ยวข้อง ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่ผู้ประเมินสร้างขึ้น แบ่งออกเป็น 3 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อโครงการการบริหารจัดการและการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานีด้านสภาพแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) และด้านกระบวนการ (Process) ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อโครงการการบริหารจัดการและการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานีด้านผลผลิต (Product) ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อโครงการการบริหารจัดการและการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี แบบสอบถามทั้ง 3 ฉบับ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ตามวิธีการของ ลิเคอร์ท (Likert)
ในการประเมินโครงการครั้งนี้ ผู้วิจัยกำหนดวงรอบการดำเนินงานโครงการ คือ หนึ่ง ปีการศึกษา คือ ปีการศึกษา 2558 แบ่งระยะการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินโครงการออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) การประเมินก่อนเริ่มโครงการ 2) การประเมินระหว่างโครงการ 3) การประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ โดยเครื่องมือประเมินฉบับที่ 1 , 2 ใช้เก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายทั้ง 3 ระยะ และ โดยเครื่องมือประเมินฉบับที่ 3 เก็บข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมายหลังเสร็จสิ้นโครงการครั้งเดียว
สรุปผลการประเมินโครงการ
ผลการประเมินโครงการการบริหารจัดการและการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระยะที่ 1 ก่อนดำเนินงานโครงการ พบว่า โครงการการบริหารจัดการและการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ด้านสภาพแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และอุบลราชธานี ด้านผลผลิต (Product) โดยรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง ซึ่งเป็นผลการประเมินผ่านเกณฑ์การตัดสิน เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ทุกข้อมีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระยะที่ 2 ระหว่างดำเนินงานโครงการ พบว่า โครงการการบริหารจัดการและการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ด้านสภาพแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และอุบลราชธานี ด้านผลผลิต (Product) โดยรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก ซึ่งเป็นผลการประเมินผ่านเกณฑ์การตัดสิน เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ทุกข้อมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระยะที่ 3 หลังสิ้นสุดโครงการ พบว่า โครงการการบริหารจัดการและการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ด้านสภาพแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) โดยรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก ส่วนด้านผลผลิต (Product) โดยรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการการบริหารจัดการและการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานีพบว่า การประเมินก่อนเริ่มโครงการ มีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง (3.10) การประเมินระหว่างโครงการ มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (4.00) และ การประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ ค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด (4.52) ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นตามลำดับ