บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ (ประวัติศาสตร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านบากง ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ (ประวัติศาสตร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านบากง และ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ (ประวัติศาสตร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านบากง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านบากง สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต ๑ ในภาคเรียนที่ ๒ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๒๖ คน ที่ผู้รายงานเป็นครูประจำชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ๑) แบบฝึกทักษะ เรื่อง ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ (ประวัติศาสตร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๓๓ แบบฝึก ๒) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ (ประวัติศาสตร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๒๐ แผน ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ (ประวัติศาสตร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน ๓๐ ข้อ และ ๔) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยใบงาน เรื่อง ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษาฯ (ประวัติศาสตร์) จำนวน ๑๖ ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ คือ
ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่า
๑) ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) มีค่าเท่ากับ ๘๔.๓๔ และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) มีค่าเท่ากับ ๘๐.๒๘ ดังนั้น ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะ เรื่อง ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ (ประวัติศาสตร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านบากง
มีค่าเท่ากับ ๘๔.๓๔/๘๐.๒๘
๒) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะ เรื่อง ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ (ประวัติศาสตร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านบากง ก่อนเรียน
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๑๖.๗๓ คิดเป็นร้อยละ ๕๕.๗๗ ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๒๔.๐๘ คิดเป็นร้อยละ ๘๐.๒๘ โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเฉลี่ย ๗.๗๑ คิดเป็นร้อยละ ๒๔.๓๗ ระดับความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะ เรื่อง ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ (ประวัติศาสตร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านบากง เฉลี่ยโดยส่วนรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๖๓ คิดเป็นร้อยละ ๙๒.๖๐
ข้อเสนอแนะ
๑) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม(ประวัติศาสตร์) ควรนำชุดฝึกเสริมทักษะ เรื่อง ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ (ประวัติศาสตร์)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ไปประยุกต์ใช้สำหรับเสริมทักษะวิชาสังคมศึกษาฯ เรื่อง ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เพราะจากผลการศึกษายืนยันได้ถึงความสำเร็จในการนำไปใช้แล้ว คือ การมีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๔.๓๔/๘๐.๒๘ สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ(ประวัติศาสตร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ให้สูงขึ้นได้และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
๒) จากการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า รายการชุดฝึกและแบบทดสอบในแบบฝึกเสริมทักษะมีความเหมาะสม มีระดับความพึงพอใจต่ำสุด ซึ่งอาจอธิบายได้ว่า การออกแบบชุดฝึกและแบบทดสอบต่างๆในชุดฝึกอาจยังมีความไม่เหมาะสมบางประการ จนส่งผลให้นักเรียนยังไม่พึงพอใจมากนัก ดังนั้น ครูผู้สอนหรือผู้ที่ต้องการนำผลการศึกษาไปใช้ควรให้ความสำคัญกับการออกแบบชุดฝึกและแบบทดสอบต่างๆให้มีความเหมาะสม สามารถดึงดูดความสนใจนักเรียนให้ทำงานได้อย่างมี
ความสุขและเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป