ชื่อเรื่อง รายงานผลการจัดประสบการณ์กิจกรรมการสานเพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านน้ำเลียง อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
ผู้รายงาน นางชนิกาญจน์ พิชัย
ปีที่ศึกษา 2559
บทคัดย่อ
รายงานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาความก้าวหน้าของการพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านน้ำเลียง ที่ได้รับการพัฒนาด้วยการจัดประสบการณ์กิจกรรมการสาน 2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของ
เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านน้ำเลียง ที่ได้รับการพัฒนาด้วยการจัดประสบการณ์กิจกรรม
การสาน ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์กิจกรรมการสาน
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือเด็กปฐมวัยชาย หญิงอายุระหว่าง 56 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านน้ำเลียง อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่านเขต 2 จำนวน 10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เนื่องจากเป็นเด็กในความดูแลรับผิดชอบของผู้ศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ศึกษาประกอบด้วยแผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมการสาน คู่มือการจัดประสบการณ์กิจกรรมการสาน และแบบทดสอบความสามารถการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 การเก็บข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยทำการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลคำนวณหาค่าเฉลี่ย ( x̄ ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) การทดสอบ
ค่าที (t-test) ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) ค่าความยากง่าย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) และการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ
ผลการศึกษา พบว่า เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านน้ำเลียงที่ได้รับการจัดประสบการณ์กิจกรรมการสานมีความสามารถ ในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กดีขึ้นระดับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านน้ำเลียง หลังการจัดประสบการณ์กิจกรรมการสาน มีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือมัดเล็กโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก( x̄ =51.9) และเมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้านพบว่า ด้านความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านความสามารถในการควบคุมการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก และด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา อยู่ในระดับดีมาก เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านน้ำเลียง ที่ได้รับการจัดประสบการณ์กิจกรรมการสานมีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กหลังการจัดประสบการณ์กิจกรรมการสาน สูงกว่า ก่อนการจัดประสบการณ์กิจกรรมการสาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าหลังการจัดประสบการณ์กิจกรรมการสานส่งผลให้เด็กมีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านความยืดหยุ่นของการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านความสามารถในการควบคุมการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก และด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาอยู่ในระดับดีมาก สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์กิจกรรมการสานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05