บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก รายวิชาชีววิทยา 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก รายวิชาชีววิทยา 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก รายวิชาชีววิทยา 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2559 โรงพระทองคำวิทยา อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่างในการหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI ซึ่งมี 3 ขั้น คือ ขั้นทดสอบรายบุคคล จำนวน 3 คน ขั้นทดสอบกลุ่มย่อยจำนวน 9 คนและขั้นทดสอบภาคสนามจำนวน 32 คน รวมจำนวน 44 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงในแต่ละกลุ่มและกลุ่มตัวอย่างในการทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559
โรงเรียนพระทองคำวิทยา อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 40 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (เนื่องจากเป็นกลุ่มของนักเรียนที่กำลังเรียนรายวิชาชีววิทยา 3)
การหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI (E1/E2) โดยนำชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI ที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญ 4 ท่าน ตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสม หลังจากนั้นนำไปหาประสิทธิภาพกับกลุ่มตัวอย่าง 3 ขั้น คือ ขั้นทดสอบรายบุคคล ขั้นทดสอบกลุ่มย่อย และขั้นทดสอบภาคสนาม ในแต่ละขั้นการทดสอบได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
ผลการศึกษาพบว่า
1.ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก รายวิชาชีววิทยา 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้ศึกษาได้สร้างและพัฒนาขึ้นมา มีประสิทธิภาพ (E1/E2) = 82.66 / 81.94 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างในการทดลอง จำนวน 40 คน โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นำผลคะแนนดังกล่าวมาหาค่าสถิติ t-test (Dependent Samples) สรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI ของกลุ่มตัวอย่างในการทดลอง จำนวน 40 สรุปได้ว่า ในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก รายวิชาชีววิทยา 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.75 ,
S.D.= 0.59)